วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ปลากัดหม้อ

 ปลากัดลูกหม้อ
ปลาลูกหม้อหรือปลาหม้อนั้นเป็นปลากัดที่ถูกนำมาคัดสายพันธ ุ์โดยนักพันธุศาสตร์สมัครเล่นชาวไทยที่มุ่งหวังจะได้ปลาที่กัดเก่ง จากบันทึกคำบอกเล่า ของนักเลงปลาเก่าอย่าง หลวงอัมรินทร์สมบัติ (ครอบสุวรรณนคร) คาดว่า ปลาลูกหม้อน่าจะถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงประมาณปี 2430 ซึ่งท่านจำได้ว่า ก่อนหน้านั้น ยังต้องจับปลาป่ามากัดพนันกันอยู่ต่อมานักเลงปลาบางคนก็เริ่มใช้วิธีไปขุดล้วงเอาปลาป่าที่อาศัยอยู่ตามรูปูในหน้าแล้งมาขังไว้ในโอ่ง มาเลี้ยงดูให้อาหาร พอถึงฤดูฝนก็นำมากัดพนันกับปลาป่า ซึ่งส่วนใหญ่จะสู้ปลาขุดที่เลี้ยงมาไม่ได้ การเล่นปลาขุดนี้ยังนิยมเล่นกันมาถึงประมาณ ปี 2496 หลังจากนั้นก็มีการเก็บปลาที่กัดเก่งเลี้ยงไว้ข้ามปี และหาปลาป่าตัวเมียมาผสม ลูกปลาที่ได้จากการผสมในชุดแรกจะเรียกว่า "ปลาสังกะสี" ซึ่งสัณนิษฐานว่าน่าจะได้ชื่อมาจากผิวหนังที่หนาแกร่ง ไม่ถูกกัดขาดง่ายเหมือนปลาป่าและปลาขุด ปลาสังกะสีมักจะตัวใหญ่ สีสันลักษณะต่างจากปลาป่าและปลาขุด นักเลงปลาป่าจึงมักไม่ยอมกัดพนันด้วย จึงต้องกัดแข่งขันระหว่างปลาสังกะสีด้วยกันเอง ปลาสังกะสีที่เก่ง อดทน สวยงามก็จะถูกคัดไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ เมื่อผสมออกมา ก็จะได้ปลาลักษณะรูปพรรณสีสันที่สวยงามแปลกออกไปตามอัธยาศัยของผู้ผสมพร้อม ความเก่ง และอดทนในการกัดจะว่าไปแล้วพันธุศาสตร์สัตว์น้ำของเมืองไทยนับได้ว่าเริ่มมาตั้งแต่ยุคนี้
 
          คำว่า "ลูกหม้อ" นั้นมาจากการใช้หม้อดินในการเพาะและอนุบาลปลากัด ในระยะแรก ๆ ปลาลูกหม้อจึงเป็นปลาสายพันธุ์ที่สร้างมาแท้ ๆ กับมือของนักเลงปลาทั้งหลาย เพื่อให้ได้ลักษณะที่ดีสำหรับการต่อสู้และให้มีสีสันที่สวยงามตามความพอใจของเจ้าของ ปลากัดลูกหม้อจึงมีรูปร่าง หนาใหญ่กว่าปลากัดชนิดอื่น สีสันสวยงามดูแล้วน่าเกรงขามกว่าพันธุ์อื่น ๆ สีส่วนมากจะเป็นสีน้ำเงิน แดง เทา เขียว คราม หรือแดงปนน้ำเงิน ใน การเล่นปลากัดในยุคก่อนนั้นปลาลูกหม้อจะมีสองประเภทคือ "ลูกแท้" และ "ลูกสับ" ลูกแท้ หมายถึง ลูกปลาที่เกิดจากพ่อแม่ ่ที่มาจากครอกเดียวกัน และลูกสับหมายถึงลูกปลาที่เกิดจากพ่อแม่ที่มาจากคนละครอก ปลากัดลูกหม้อนี้ถ้าเอาไปผสมกลับกับปลาป่าลูกปลาก็จะ เรียกว่า "สังกะสี" เช่นเดียวกัน ซึ่งปลาสังกะสีซึ่งเกิดจากการผสมกลับแบบนี้ส่วนมากก็จะมีชั้นเชิงและน้ำอดน้ำทนในการกัดสู้ลูกหม้อไม่ได้ "ลูกหม้อ" จึงเป็นสุดยอดของปลากัดสำหรับนักเลงปลาทั้งหลาย ในระยะหลัง ๆ ก็อาจมีการพูดถึงสายพันธุ์ "มาเลย์" หรือ "สิงคโปร์" ซึ่งว่ากันว่ากัดเก่งหนังเหนียวแต่โดยแท้จริงก็คือปลาลูกหม้อ นั่นเอง เพียงแต่ว่าในระยะต่อมามีการประยุกต์ใช้กลวิธีการหมักปลาด้วยสมุนไพร ใบไม้ ว่าน ดินจอมปลวก และอื่น ๆ เพื่อช่วยเคลือบเกล็ดปลา ที่เชื่อกันว่าจะทำให้เกล็ดแข็งกัดเข้าได้ยาก ควบคู่ไปกับการคัดเลือกพันธุ์ ถึงอย่างไร ลูกหม้อก็คือลูกหม้อที่เราชาวไทยพัฒนามาแต่โบราณแม้จะถูกนำไปพัฒนาสายพันธุ์ในที่อื่นก็ยังคงเป็นลูกหม้อไทยตัวเดิมนั่นเองที่มา:รองศาสตราจารย์ ยนต์ มุสิก
ปลาหม้อ หรือที่เรียกว่า "พันธุ์ลูกหม้อ" เป็นปลากัดที่คัดพันธุ์ผสมไว้หลายชั่วชั้น เป็นปลากัดชั้นดีที่สุดปลาสังกะสี หรือที่เรียกว่า "ลูกสังกะสี" ในท้องถิ่นภาคใต้เรียกว่า "ปลาสั้งสี" หรือ "ลูกสั้งสี" เป็นปลาพันทางเกิดจากการนำเอาปลาพันธุ์ลูกหม้อผสมกับปลากัดพันธุ์ลูกทุ่ง หรือลูกป่าปลาซ้ำสาม หรือที่นักเลงปลากัดในภาคใต้เรียกว่า"ลูกเส้งแส้ง" หมายถึงปลากัดพันธุ์ผสมชั้นที่ 3 ระหว่างปลากัด "ลูกสังกะสี" กับ "ปลาลูกทุ่งหรือลูกป่า"
ปลาลูกผสม หรือทีเรียกว่า "ลูกผสม" นักเลงปลากัดในภาคใต้เรียกว่า "ลูกสม" เป็นปลากัดพันธุ์ทาง ชั้นที่ 4 ระหว่าง "ลูกแส้งแส้ง" กับ "ลูกทุ่งหรือลูกป่า

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การเพาะเลี้ยงไรแดง




ไรแดง เป็นอาหารธรรมชาติที่ดีสำหรับการอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนโดยเฉพาะสัตว์น้ำเศรษฐกิจ ทั้งปลาสวยงามและปลาเศรษฐกิจ เช่น ปลา ปอมปาดัวร์ ปลากัด กุ้งก้ามกราม ปลากะพง ปลาบึก ปลาเทโพ และปลาดุกอุย เป็นต้น ในอดีตไรแดงส่วนใหญ่รวบรวมได้จากแหล่งน้ำโสโครกตามบ้านเรือน โรงฆ่าสัตว์ หรือโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งมีปริมาณไม่แน่นอน ปัจจุบันไรแดงจากธรรมชาติมีปริมาณลดลงเพราะสภาพสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เปลี่ยนไปในขณะที่ความต้องการไรแดงกลับเพิ่มขึ้น ทำให้ประสบปัญหาการขาดแคลนไรแดงในการอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนมากขึ้น ซึ่งมีผลโดยตรงกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ กรมประมงได้ศึกษาวิจัยและประสบความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงไรแดง ซึ่งเป็นการลดปัญหาการขาดแคลนไรแดง และช่วยส่งเสริมการพัฒนาอาชีพการเพาะเลี้ยงไรแดง และการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ไรแดง เป็นอาหารธรรมชาติที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ดังนั้นการอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนด้วยไรแดงจึงทำให้อัตราอดและอัตราการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำวัยอ่อนสูงมาก ไรแดงน้ำหนักแห้งประกอบด้วยโปรตีน 74.09 เปอร์เซ็นต์ คาร์ดบไฮเดรต 12.50 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 10.19 เปอร์เซ็นต์ และเถ้า 3.47 เปอร์เซ็นต์ (สันทนา, 2529)
ไรแดง เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกกุ้ง หรือที่เรียกว่า crustacean มีชื่อวิทยาศาสตร์ Moina macrocopa และมีชื่อสามัญว่า Water flea เป็นแพลงก์ตอนสัตว์ชนิดหนึ่งมีขนาด 0.4-1.8 มิลลิเมตร ลำตัวมีสีแดงเรื่อ ๆ ถ้าอยู่รวมกันเป็นจำนวนมากจะมองเห็นไรแดงมีสีแดงเข้มไรแดงเพศเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าเพศผู้ ลำตัวอ้วนเกือบกลมมีขนาดเฉลี่ย 1.3 มิลลิเมตร ส่วนเพศผู้ตัวเล็กและค่อนข้างยาวกว่า มีขนาดเฉลี่ย 0.5 มิลลิเมตร ตัวอ่อนที่ออกมาจากถุงไข่ของแม่ใหม่ ๆ จะมีขนาด 0.22-0.35 มิลลิเมตร มีสีจางกว่าตัวเต็มวัย ในสภาวะสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ไรแดงจะมีประชากรเพศผู้ 5 เปอร์เซ็นต์ เพศเมีย 95 เปอร์เซ็นต์
ไรแดง มีการสืบพันธุ์ 2 แบบ คือ
แบบที่ 1 เป็นการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ ไรแดงเพศเมียจะไข่แล้วฟักเป็นตัวโดยไม่ต้องผสมกับไรแดงเพศผู้ โดยปกติไรแดงจะมีอายุระหว่าง 4-6 วัน แพร่พันธุ์ได้ 1-5 ครั้ง หรือเฉลี่ย 3 ครั้ง ๆ ละ 19-23 ตัว ทั้งนี้ สภาวะแวดล้อมจะต้องเหมาะสม
แบบที่ 2 เป็นการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ในสภาวะแวดล้อมที่ผิดปกติ เช่น อุณหภูมิหรือต่ำเกินไป ความเป็นกรดเป็นด่างไม่เหมาะสมหรือขาดแคลนอาหาร ไรแดงจะเพิ่มปริมาณเพศผู้มากขึ้นแล้วไรแดงเพศเมียจะสร้างไข่ขึ้นอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งจะต้องได้รับการผสมพันธุ์จากเพศผู้แล้วสร้างเปลือกหุ้มหนา แม่ 1 ตัว จะให้ไข่ชนิดนี้ 2 ฟอง หลังจากนั้นตัวเมียก็จะตาย เนื่องจากสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมนั้น ไข่จะถูกทิ้งให้อยู่ก้นบ่อหรือก้นแหล่งน้ำนั้น ไข่เปลือกแข็งนี้สามารถทนต่อสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้นาน และจะฟักออกเป็นตัวเมื่อสภาวะแวดล้อมที่ดีขึ้นและมีอาหารที่อุดมสมบูรณ์

การเพิ่มผลผลิตของไรแดงในบ่อนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการพลังงานจากแสงแดดเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ที่ทำให้ขบวนการต่าง ๆ ในภาพดำเนินไปด้วยดี ปุ๋ยและอาหารต่าง ๆ จะถูกย่อยสลายโดยบักเตรี ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อการแพร่ขยายของน้ำเขียว อีกทั้งยังทำให้เกิดขบวนการสังเคราะห์แสง ซึ่งจะใช้ของเสียต่างๆ จำพวกแอมโมเนีย คาร์บอนไดออกไซด์ และอื่น ๆที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต ทำให้คุณสมบัติของน้ำดีขึ้น การหมุนเวียนของน้ำจะเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำซึ่งเป็นประโยชน์โดยตรงต่อไรแดง การเพิ่มปริมาณน้ำเขียวมากขึ้น และการใส่ยีสต์ก็สามารถช่วยในการเพิ่มผลผลิตของไรแดงได้อย่างมหาศาลเช่นเดียวกัน
แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ
1.การเพาะเลี้ยงไรแดงในบ่อซีเมนต์
2.การเพาะเลี้ยงไรแดงในบ่อดิน
ได้รับการพัฒนาเรื่อยมาจากการใช้ฟางต้ม มูลสัตว์ เลือดสัตว์ อาหารผสมและน้ำเขียวจากการศึกษาค้นคว้าทดลองและวิจัยของหน่วยงานที่รับผิดชอบหลาย ๆ องค์กรทำให้ปัจจุบันสามารถเพาะเลี้ยงไรแดงในบ่อซีเมนต์ได้ 2 วิธี คือ
1. การเพาะเลี้ยงแบบเก็บเกี่ยวไม่ต่อเนื่อง คือการเพาะไรแดงแบบการเก็บเกี่ยวเพียงครั้งเดียว การเพาะแบบนี้จำเป็นที่จะต้องมีบ่ออย่างน้อย 5 บ่อ เพื่อใช้ในการหมุนเวียนให้ได้ผลผลิตทุกวัน การเพาะแบบไม่ต่อเนื่องจะให้ปริมาณไรแดงที่แน่นอนและจำนวนมาก ไม่ต้องคำนึงในด้านศัตรูมากนัก เพราะว่าเป็นการเพาะในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ
2. การเพาะแบบเก็บเกี่ยวต่อเนื่องคือการเพาะไรแดงแบบเก็บเกี่ยวผลผลิตไรแดงหลายวันภายในบ่อเดียวกัน การเพาะแบบนี้ต้องมีบ่ออย่างน้อย 5 บ่อ การเพาะแบบต่อเนื่องจะต้องคำนึงถึงศัตรูของไรแดงและสภาวะแวดล้อมในบ่อเพาะไรแดง เนื่องจากการเติมพวกอินทรีย์สารต่างๆ หรือการเติมน้ำเขียวลงในบ่อควรมีการถ่ายน้ำและเพิ่มน้ำสะอาดลงในบ่อเพื่อเป็นการลดความเป็นพิษของแอมโมเนียและสารพิษอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในบ่อ การเพาะไรแดงทั้ง 2 วิธี ควรจะมีเครื่องเป่าอากาศเพื่อเพิ่มออกซิเจนในบ่อให้เพียงพอต่อความต้องการของไรแดง อีกทั้งยังช่วยย่อยสลายอินทรีย์สารและให้น้ำในบ่อหมุนเวียน หรือจะใช้เครื่องปั่นน้ำช่วยก็ได้
วัสดุและอุปกรณ์
1. บ่อผลิต ลักษณะของบ่อซีเมนต์ ถ้าเป็นการลงทุนใหม่บ่อซีเมนต์ที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงไรแดงที่เหมาะสมควรมีลักษณะเป็นรูปไข่ แต่ถ้ามีบ่อซีเมนต์สี่เหลี่ยมอยู่แล้วก็สามารถนำมาใช้ได้เช่นกัน พื้นก้นบ่อของบ่อไรแดง ควรฉาบและขัดมันให้เรียบร้อยเพื่อความสะดวกในการหมุนเวียนของน้ำ เพราะถ้าไม่มีการหมุนเวียนของน้ำที่ดีแล้ว จะทำให้การย่อยสลายของปุ๋ยและอาหารผสมดีขึ้น อีกทั้งเป็นการป้องกันการตกตะกอนของน้ำเขียว ถ้าน้ำเขียวตกตะกอนแล้ว จะทำให้อาหารของไรแดงน้อยลง และผลผลิตของไรแดงก็จะลดน้อยลงด้วย บ่อซีเมนต์ที่ใช้ในการเพาะไรแดงควรมีทางน้ำเข้าและน้ำออกเพื่อสะดวกในการเพาะ การล้าง และการเก็บเกี่ยวไรแดง ทั้งนี้การสร้างบ่อผลิตต้องอยู่กลางแจ้ง ไม่มีหลังคา และต้นไม้บังแสงแดด
ขนาดของบ่อซีเมนต์ ขนาดของบ่อเพาะไรแดงจะขึ้นอยู่กับความต้องการผลผลิตของไรแดง แต่ในด้านความสูงของบ่อควรจะมีความสูงประมาณ 60 เซนติเมตร
2. เครื่องเป่าลม ในบ่อเพาะที่มีขนาดใหญ่ ตั้งแต่ 30-50 ตารางเมตรจำเป็นที่จะต้องมีเครื่องเป่าลมไว้ในบ่อเพาะ เครื่องเป่าลมจะก่อให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำในบ่อเพาะเป็นการป้องกันการตกตะกอนของน้ำเขียวแล้วยังช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนอีกทั้งยังช่วยเร่งการขยายพันธุ์การเจริญเติบโบของน้ำเขียวและไรแดงให้เร็วขึ้น และลดความเป็นพิษของน้ำที่มีต่อไรแดง
3. ผ้ากรอง การกรองน้ำลงในบ่อเพาะทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นน้ำบาล น้ำคลอง น้ำประปา และน้ำเขียวที่เป็นเชื้อเริ่มต้น ควรผ่านผ้ากรองขนาด 69 ไมครอน หรือต่ำกว่าก็ได้ เพื่อเป็นการป้องกันสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ และศัตรูของไรแดง
4. น้ำเขียว เป็นสาหร่ายเซลล์เดียวขนาดเล็กเรียกแพลงก์ของพืชโดยทั่วไปจะมีอยู่มากมายหลายชนิดและมีคุณค่าทางอาหารแตกต่างกันสาหร่ายเซลล์เดียวที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงไรแดง คือ Chlorella sp. ขนาด 2.5-3.5 ไมครอน มีโปรตีนสูงกว่าสาหร่ายเซลล์เดียวชนิดอื่น คือมีโปรตีน 64.15% การเพาะพันธุ์โดยการใช้ปุ๋ยอนินทร์ย์ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ก็ได้ ระยะเวลาในการเพาะเพื่อให้น้ำเขียวเข้มจะใช้เวลาประมาณ 3 วัน เชื้อน้ำเขียวเริ่มต้นสำหรับการเพาะเลี้ยงระยะเริ่มแรกนั้นติดต่อได้ที่หน่วยงานของกรมประมงที่มีการเพาะเลี้ยงไรแดง
5. ไรแดง หัวเชื้อไรแดงใช้สำหรับแพร่ขยายพันธุ์ต่อไป ควรมีสภาพที่สมบูรณ์ มีขนาดใหญ่ อายุประมาณ 2 วัน ควรทำความสะอาดทุกครั้งก่อนจะนำไรแดงมาเป็นหัวเชื้อ เพื่อเป็นการป้องกันศัตรูที่เกาะติดมากับไรแดง
6. กากผงชูรส (อามิ-อามิ) อามิ-อามิ เป็นกากของการทำผงชูรส ซึ่งประกอบด้วยแร่ธาตุไนโตรเจน 4.2% และฟอสฟอรัส 0.2% การใช้ควรใช้ทั้งน้ำและตะกอนร่วมกัน ในกรณีอามิ-อามิเกิดการตกตะกอนมากขึ้นควรลดระดับ ปริมาณที่ใช้ลง เพื่อป้องกันการเน่าเสียของน้ำในบ่อไรแดง
7. อาหารสมทบ ได้แก่ รำ กากถั่วและปลาป่น หมัก สามารถนำมาเป็นอาหารของไรแดงได้โดยตรง และทำให้เกิดบักเตรีจำนวนมากซึ่งไรแดงสามารถนำมาใช้เป็นอาหารได้อีกทางหนึ่ง
8. ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ได้แก่
- ปุ๋ยนา สูตร 16-20-.
- ปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต สูตร 0-46-0
- ปุ๋ยยูเรีย สูตร 46-0-0
ในการใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ทุกครั้งควรละลายน้ำ เพื่อป้องกันการตกค้างของปุ๋ยในบ่อเพาะไรแดง
9. ปูนขาว การใช้ปูนขาวในบ่อเพาะเลี้ยงไรแดงก็เพื่อเป็นการปรับความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำ ช่วยเพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำ ช่วยการเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ของน้ำเขียวเร็วขึ้น การใช้ปูนขาวควรละลายน้ำก่อนจึงใส่ลงในบ่อเพาะเลี้ยงไรแดง
ปูนขาวที่มีขายอยู่ในท้องตลาดทั่วไป โดยปกติจะมีอยู่หลายประเภท เช่น
1. ปูนเผา หรือ Calcium oxide (CaO)
2. ปูนเปียก หรือ Calcium hydroxide Ca (OH)2
3. หินปูน หรือ CaCO3.
4. ปูนมาร์
ปูนต่าง ๆเหล่านี้จะมีประสิทธิภาพเรียงจากมากมาหาน้อย โดยปูนเผาจะมีประสิทธิภาพสูงสุด
ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงไรแดง
ไรแดง เป็นสัตว์น้ำจึงต้องการอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน เช่นเดียวกับสัตว์น้ำชนิด อื่น ๆ ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน เกลือแร่ และวิตามิน ดังนั้นเคล็ดลับการเพาะเลี้ยงไรแดงก็คือการให้อาหารที่เหมาะสมในปริมาณเพียงพอ และการควบคุมสภาวะแวดล้อมในบ่อเพาะเลี้ยงให้เหมาะสม หากอาหารในบ่อเพาะเลี้ยงมากหรือน้อยเกินไปก็จะทำให้ผลผลิตไรแดงลดต่ำลง ไรแดงสามารถทนต่อสภาวะแวดล้อมได้ดีแต่ถ้าสภาวะแวดล้อมเลวมากจะไรแดงทนไม่ได้ผลผลิตก็จะต่ำลง วิธีการเพาะเลี้ยงไรแดง มี 5 ขั้นตอน ซึ่งแต่ละขั้นตอนในการปฏิบัติจะมีผลต่อปริมาณและระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวผลผลิตให้ยาวนานขึ้น ดังต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมบ่อผลิต
ขั้นตอนที่ 2 การเตรียมน้ำ
ขั้นตอนที่ 3 การเตรียมอาหาร
ขั้นตอนที่ 4 การเตรียมแม่พันธุ์ไรแดง
ขั้นตอนที่ 5 การควบคุมบ่อผลิต
ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมบ่อผลิต
กรณีบ่อใหม่จะต้องล้างบ่อให้อยู่ในสภาพเป็นกลางหรือด่างอ่อน ๆ (7-8) โดยแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 1-3 สัปดาห์ แล้วระบายน้ำทิ้ง ถ้าต้องการลดระยะเวลาให้หมักฟางหญ้า หรือเศษพืชผักไว้ในบ่อเพราะจะเกิดกรดอินทรีย์ เช่น กรดฮิวมิค ซึ่งจะช่วยแก้ความเป็นด่างได้เล็กน้อย หรือใช้กรดน้ำส้มเทียมผสมน้ำในบ่อให้เต็ม แช่ทิ้งไว้ประมาณ 3-5 วัน แล้วระบายน้ำทิ้ง และเปิดน้ำใหม่แช่ทิ้งไว้อีก 24 ชั่วโมง ส่วนบ่อเก่าต้องล้างบ่อแล้วตากบ่อให้แห้งเพื่อกำจัดศัตรูไรแดง
ขั้นตอนที่ 2 การเตรียมน้ำ
การระบายน้ำเข้าบ่อโดยผ่านการกรองด้วยผ้าแพลงก์ตอน จะช่วยป้องกันศัตรูไรแดงและคัดขนาดของแพลงก์ตอนพืชที่ติดมากับน้ำและเป็นอาหารไรแดงต่อไป ระดับน้ำที่ใช้ประมาณ 20-30 เซนติเมตร
เทคนิคเสริมบางประการในการเตรียมน้ำ
- น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง จะให้ผลผลิตสูงกว่าน้ำประปา น้ำบาดาลและน้ำฝน ทั้งนี้เพราะมีแพลงก์ตอนพืชปนมากับน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ แต่ก็ควรกรองน้ำด้วยถุงกรองแพลงก์ตอนทุกครั้ง เพื่อป้องกันศัตรูของไรแดงที่อาจจะติดมากับแหล่งน้ำธรรมชาติ
- ควรปรับคุณภาพของน้ำให้มีความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 8 โดยใช้ปูนขาวละลายน้ำจะได้น้ำปูนใส ส่วนกากปูนให้ทิ้งไป เพราะเป็นพิษกับไรแดง
ขั้นตอนที่ 3 การเตรียมอาหาร
อาหารที่ใช้ผลิตไรแดงจะต้องมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิ และเกลือแร่ ชนิดของอาหารที่ใช้เพาะเลี้ยงไรแดง แบ่งออกเป้น 3 ประเภท คือ
1. อาหารผสม ได้แด่ รำละเอียด ปลาป่น และกากถั่วเหลือง โดยเฉพาะกากถั่วเหลืองจะมีกรดไขมันที่เร่งการลอกคราบของไรแดงทำให้ผลผลิตไรแดงสูงขึ
2. จุลินทรีย์ เป็นอาหารที่ได้จากการหมักอาหารกับน้ำ ได้แก่ ยีสต์และแบคทีเรีย สำหรับยีสต์จะมีวิตามินอี ซึ่งช่วยในการทำงานของระบบสืบพันธุ์
3. น้ำเขียว เป็นอาหารอีกชนิดหนึ่งในที่นี้หมายถึงแพลงก์ตอนพืชหลาย ๆ ชนิดที่ไรแดงกินได้ เช่น คลอเรลล่า ซีเนเดสมัน ฯลฯ ซึ่งทำให้ไรแดงสมบูรณ์จึงมีผลผลิตที่เพิ่มขึ้น
วิธีหมักอาหารกับน้ำ ใช้อาหาร 1 ส่วน : น้ำ 2 ส่วน : ปูนขาว 1 ส่วน จะเกิดจุลินทรีย์พวกบักเตรีซึ่งจะเป็นอาหารเสริมของไรแดง การหมักอาหารใช้เวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ส่วนอัตราอาหารผสมที่ใช้ คือ รำละเอียด 2 ส่วน ปลาป่น 1 ส่วน และกากถั่วเหลือง 1 ส่วน ในปริมาณ 40 กรัมต่อตารางเมตร เช่น บ่อผลิตขนาด 50 ตารางเมตร ใช้รำละเอียด 1 กก. ปลาป่น 0.5 กก. และกากถั่วเหลือง 0.5 กก.
เทคนิคเสริมบางประการในการเตรียมอาหาร
1. ถังน้ำมีสีเขียว แสดงว่าเกิดแพลงก์ตอนพืชแล้ว จึงเติมอาหารผสมลงบ่อแพลงก์ตอนพืชจะแพร่พันธุ์เป็นอาหารของไรแดงต่อไป
2. อาหารต้องผ่านการหมักอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ระยะเวลาที่หมักอาหารประมาณ 50-60 ชั่วโมง
3. อาหารที่หมักแล้วหากใช้ถุงผ้าโอลอนแก้วกรองส่วนที่เป็นกากออก จะทำให้น้ำเสียช้าลงและช่วงเวลาในการเก็บเกี่ยวไรแดงยาวนานขึ้น
ขั้นตอนที่ 4 การเตรียมพันธุ์ไรแดง
การเพาะเลี้ยงไรแดงให้ได้ปริมาณมากจำเป็นต้องใช้แม่พันธุ์ที่มีชีวิตสมบูรณ์และแข็งแรง มีวิธีการดำเนินการง่าย ๆ ดังนี้
1. การคัดพันธุ์ไรแดง ควรแยกไรแดงออกจากแพลงก์ตอนสัตว์ชนิดอื่น โดยใช้กระชอนอวนมุ้งสีฟ้าขนาดตาเล็กที่สุด ซึ่งสามารถแยกไรแดงจากโคพีพอด และลูกน้ำได้ แต่ถ้าได้พันธุ์ไรแดงที่ไม่มีแพลงก์ตอนสัตว์ชนิดอื่นปะปนมาจะดีที่สุด
2. การสังเกตเพศไรแดง ไรแดงมี 2 เพศ คือ ไรแดงเพศเมียและไรแดงเพศผู้ ในสภาวะเหมาะสมไรแดงจะสร้างเพศผู้เพียง 5% ของประชากรไรแดง แต่ในสภาวะไม่เหมาะสมไรแดงจะสร้างเพศผู้มากขึ้นสำหรับการเลือกแม่พันธุ์หรือหัวเชื้อ โดยสังเกตไรแดงที่มีรูปร่างอ้วนกลมซึ่งมีวิะการตรวจสอบ คือใช้แก้วใส่น้ำใส ๆ แล้วช้อนไรแดงพอประมาณยกขึ้นส่องดู ถ้าพบไรแดงเพศผู้ซึ่งมีลำตัวผอมยาวรี แสดงว่ามีไรแดงเพศผู้มากกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งไม่ควรนำไปขยายพันธุ์
3. การเติมแม่พันธุ์ไรแดง ไรแดง 1 กิโลกรัมผลมน้ำ 20% จะได้ไรแดง 1 ลิตร ปริมาณที่ใช้เฉลี่ย 30-40 กรัมต่อตารางเมตร บ่อขนาด 50 ตารางเมตร ใช้แม่พันธุ์ไรแดง 2 กิโลกรัม จะได้ผลผลิตประมาณครั้งละ 12 กิโลกรัม ซึ่งเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณวันละ 5 กิโลกรัม
ขั้นตอนที่ 5 การควบคุมบ่อผลิต
การคงสภาพบ่อผลิตให้สามารถเก็บผลผลิตได้มากกว่า 7 วัน มีวิธีการดังนี้
1. การเก็บเกี่ยวผลผลิตให้เก็บเกี่ยวเพียงวันละครึ่งหนึ่งของผลผลิตทั้งหมด คือ ครั้งแรก วันที่ 3 หรือ 5 หลังจากเติมแม่พันธุ์ไรแดง
2. การเติมอาหาร ให้เติมอาหารหมักแล้ว 10-25% ของครั้งแรกทุกวัน โดยสังเกตปริมาณผลผลิตไรแดงในบ่อ
3. การถ่ายน้ำ หมายถึง การระบายน้ำออกและเติมน้ำเข้าทุก 2-3 วัน ระดับ 5-15 เซนติเมตร โดยสังเกตปริมาณผลผลิตไรแดงในบ่อ
1. วิธีเพาะเลี้ยงไรแดงแบบเก็บเกี่ยวไม่ต่อเนื่อง
   1.1 ในบ่อซีเมนต์ขนาด 50 ตารางเมตร ซึ่งทำความสะอาดและตากบ่อทิ้งไว้แล้ว 1 วัน
   1.2 เปิดน้ำและกรองลงบ่อให้ได้ระดับความสูง 20 เซนติเมตรปริมาณน้ำ 10 ลูกบาศก์เมตร พร้อมทั้งละลายปุ๋ยและอาหารลงในบ่อโดยใช้สูตรใดสูตรหนึ่ง ดังนี้
   สูตรที่ 1 อามิ-อามิ 8 ลิตร ปุ๋ยนา (16-20-0) 1.2 กก. ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) 1.2 กก. ปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต (0-46-0) 100 กรัม ปูนขาว 1 กก. กากถั่วเหลือง 1 กก.
   สูตรที่ 2 รำละเอียด 1 กก. ปลาป่น 0.5 กก. กากถั่วเหลือง 0.5 กก. ปุ๋ยนา (16-20-0) 1.2 กก. ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) 1.2 กก. ปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต (0-46-0) 100 กรัม ปูนขาว 1 กก. (อาหารที่ใช้ควรหมักไว้อย่างน้อย 24 ชั่วโมง อัตราส่วนที่ใช้หมักได้แก่ อาหาร 1 ส่วน : น้ำ 2 ส่วน : ปูนขาว 1 ส่วน)
   สูตรที่ 3 อามิ-อามิ 6 ลิตร กากถั่วเหลืองหมัก หรือรำละเอียดหมักหรือปลาป่นอย่างใดอย่างหนึ่ง 0.5 กก. ปุ๋ยนา (16-20-0) 1.2 กก. ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) 1.2 กก. ปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต (0-46-0) 100 กรัม ปูนขาว 1 กก.
สูตรปุ๋ยและอาหารที่ใช้เพาะไรแดงทั้ง 3 สูตร ให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อบ่อประมาณ 13-15 กก.
   1.3 ทำการเติมน้ำเขียวลงในบ่อประมาณ 1 ตัว (1,000) ลิตร ทิ้งไว้ประมาณ 3 วัน ในระหว่างนี้ควรเดินคนบ่อย ๆ เพื่อป้องกันการตกตะกอน
   1.4 หลังจากน้ำเขียวเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ทำการแบ่งเชื้อน้ำเขียวไปลงบ่อเพาะใหม่จำนวน 1 ตัน หลังจากนั้นจึงนำพันธุ์ไรแดงที่มีความสมบูรณ์ใส่ลงไปจำนวน 2 กิโลกรัม และให้อากาศออกซิเจนในน้ำ ทิ้งไว้ประมาณ 2 วัน ไรแดงจะขยายพันธุ์ขึ้นและสามารถเก็บเกี่ยวไรแดงได้ประมาณ 13-15 กิโลกรัม ใช้เวลาการเพาะเลี้ยงไรแดงประมาณ 5 วัน จะต้องมีบ่อซีเมนต์จำนวน 5 บ่อ จึงจะทำการเพาะไรแดงแบบไม่ต่อเนื่องได้ครบวงจร
2. วิธีเพาะเลี้ยงไรแดงแบบเก็บเกี่ยวต่อเนื่อง
   2.1 เมื่อดำเนินขั้นตอนตามวิธีการเพาะในแบบที่ 1 ถึงข้อ 1.4 ในการเก็บเกี่ยวไรแดงมาใช้เพียง ฝ ของไรแดงที่เกิดขึ้นในบ่อประมาณ 5-6 กิโลกรัม
   2.2 ลดระดับน้ำลงให้เหลือประมาณ 10 เซนติเมตร แล้วทำการเติน้ำสะอาดและน้ำเขียวผสมอาหารและปุ๋ยอย่างละ 5 เซนติเมตร ทำเช่นนี้ทุกวันจนกว่าสภาวะแวดล้อมในบ่อไรแดงไม่เหมาะสมหรือผลผลิตต่อไรแดงลดลง จึงทำการล้างบ่อแล้วเริ่มทำการเพาะใหม่
   2.3 ผลผลิตไรแดงแบบการเพาะต่อเนื่อง จะสามารถเก็บเกี่ยวไรแดงได้ประมาณ 25 กิโลกรัม ระยะเวลาในการเพาะจนถึงเก็บเกี่ยวครั้งสุดท้ายรวม 12 วัน หลังจากนี้ควรล้างบ่อทำความสะอาดและเริ่มเพาะเลี้ยงใหม่
ปัญหาและวิธีแก้ไข
ปัญหาของบ่อผลิตไรแดง คือ ผลผลิตลดลง ซึ่งมีวิธีแก้ไข ดังนี้
1. เมื่อน้ำในบ่อผลิตมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างต่ำกว่า 6
   1.1 ใช้ปูนขาวละลายน้ำสาดทั่วบ่อ
   1.2 ใช้ปุ๋ยไนไตรเจนประเภทไนเตรต เช่น โซเดียมไนเตรต (16-0-0)
   1.3 ใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับหินฟอสเฟต
   1.4 ถ่ายน้ำออกครึ่งหนึ่งแล้วเติมน้ำใหม่
2. เมื่อน้ำในบ่อผลิตมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างสูงกว่า 10
   2.1 ใช้สารส้มละลายน้ำสาดทั่วบ่อ (วิธีนี้ทำให้ระยะเวลาเก็บเกี่ยวสั้นลงและน้ำเขียวอาจตกตะกอนได้)
   2.2 ใช้ปุ๋ยไนโตรเจนประเภทแอมโมเนีย เช่น แอมโมเนียซัลเฟ
   2.3 ใช้ปุ๋ยคอก คือ มูลไก่ (วิธีนี้ทำให้ผลผลิตต่ำ และน้ำเสียเร็วขึ้น)
   2.4 ถ่ายน้ำออกครึ่งหนึ่งแล้วเติมน้ำใหม่
3. เมื่อปริมาณออกซิเจนต่ำ สังเกตจากไรแดงลอยตัวในตอนเช้าแต่ผลผลิตไรแดงต่ำลงในวันต่อมา หรือน้ำขุ่นเข้ม
   3.1 ถ่ายน้ำก้นบ่อออกครึ่งหนึ่งแล้วเติมน้ำใหม่
   3.2 เติมน้ำโดยยกปลายท่อให้สูงขึ้น
   3.3 กวนน้ำหรือตีน้ำกระจายสัมผัสกับอากาศ
   3.4 ใช้เครื่องปั๊มอากาศช่วยเพิ่มออกซิเจน
4. เมื่อมีศัตรูไรแดงในบ่อผลิต
   4.1 แมลง ใช้สวิงตาห่างสีฟ้าช้อนขึ้น
   4.2 ลูกปลา ลูกอ๊อด ลูกเขียด ใช้กากชา ความเข้มข้น 30 ส่วน ในล้านส่วน หรือ 30 กรัม ต่อปริมาณน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร
5. เมื่อน้ำในบ่อผลิตมีความเข้มข้นสูง สีเขียวข้น เนื่องจากมีอาหารมากเกินไป
   5.1 ถ่ายน้ำก้นบ่อออกครึ่งหนึ่ง แล้วเติมน้ำสะอาดลงไป
   5.2 ลดปริมาณอาหารที่ให้
6 เมื่อน้ำในบ่อผลิตใสจนเห็นก้นบ่อ เนื่องจากอาหารน้อยเกินไป
   6.1 เติมอาหรผสมทันที 20-40 % แล้วหมักอาหารผสมอีก 10-25% เติมในวันรุ่งขึ้นและวันต่อ ๆ ไป
   6.2 เติมน้ำเขียวประมาณ 5-10 เซนติเมตร
เทคนิคที่ควรทราบ
1. การเตรียมน้ำลงในบ่อเพาะไรแดง ควรกรองน้ำด้วยผ้ากรองทุกครั้ง เพื่อป้องกันสิ่งที่มีชีวิตเล็ก ๆ หรือศัตรูไรแดงในแหล่งน้ำที่อาจจะเข้ามาพร้อมกับน้ำที่ใช้
2. น้ำเขียวที่จะนำลงบ่อเพาะไรแดง ควรกรองด้วยถุงกรองแพลงก็ตอน เพื่อป้องกันสิ่งที่มีชีวิตเล็ก ๆ ติดมากับน้ำเขียว
3. แพลงก์ตอนสัตว์และพืชที่อยู่ในน้ำจืดชอบน้ำที่มีความเป็นด่างเล็กน้อย คือประมาณ 7.5-8.5 ฉะนั้นน้ำที่นำมาเลี้ยงเป็นกรดหรือเป็นกลางควรปรับให้เป็นด่าง
4. การเพาะไรแดงโดยการใช้ปุ๋ยมูลสัตว์หรืออาหารเม็ดเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้ผลผลิตไรแดงสูง อีกทั้งการเติมสารอาหารพวกอินทรีย์สารจะทำให้เกิดการเน่า น้ำเสียได้ง่ายและผลผลิตไรแดงจะไม่แน่นอน การเตรียมอาหารที่เหมาะสมและมีการเพาะน้ำเขียวนอกจากจะเป็นอาหารไรแดงแล้วยังช่วยรักษาระบบนิเวศวิทยาในการอยู่ร่วมกันของไรแดงทำให้เกิดผลผลิตไรแดงสูงได้
5. การเพาะไรแดง ปัจจัยที่คำนึงถึงปัจจัยแรกคืออาหาร (น้ำเขียว) ซึ่งนับว่าเป็นอาหารที่เหมาะสมต่อการใข้เลี้ยงไรแดง คงสภาพอยู่ได้นานไม่เน่าเสีย เจริญเติบโตได้รวดเร็วด้วยปุ๋ยชนิดต่างๆ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์จะทำให้น้ำเขียวมีการเจริญเติบโตได้ดีและคงสภาพอยู่ได้นาน
6. การเพิ่มระดับน้ำอาหารผสมและปุ๋ยก็จะเป็นปัจจัยหนึ่งในการเพิ่มผลผลิตของไรแดง เนื่องจากการเพิ่มน้ำและปุ๋ยจะเป็นการเพิ่มปริมาณน้ำเขียวให้มากขึ้น ก็จะทำให้ไรแดงมีผลผลิตสูงขึ้น แต่การเพิ่มระดับน้ำสูงขึ้นจะทำให้เกิดการสังเคราะห์แสงของน้ำเขียวไม่ดีพอ และไรแดงขาดออกซิเจน จึงควรวางระบบท่อลมให้เพียงพอหรืออาจจะใช้เครื่องปั่นน้ำก็ได้
7. การใช้ออกซิเจน โดยทั่วไปสิ่งที่มีชีวิตจำเป็นต้องใช้ออกซิเจนในขบวนการสร้างพลังงาน ฉะนั้นในการเพิ่มออกซิเจนโดยใช้ปั๊มลมลงในบ่อเพาะเลี้ยงไรแดง นอกจากจะช่วยให้ไรแดงมีการขยายพันธุ์ได้รวดเร็วขึ้นแล้ว ยังทำให้บักเตรีที่อยูในบ่อทำการย่อยอินทรีย์สารได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยให้น้ำเขียวมีการเจริญเติบโตได้ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยป้องกันการตกตะกอนของน้ำเขียวได้ ดังนั้นในการเพิ่มออกซิเจนในบ่อเพาะเลี้ยงไรแดงก็จะมีส่วนให้ไรแดงมีผลผลิตสูงขึ้น
8. การหมุนเวียนน้ำ การหมุนเวียนน้ำก็เป็นปัจจัยอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการเพาะน้ำเขียวและไรแดงโดยตรง โดยจะช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจน และยังช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจน และยังช่วยไม่ให้น้ำเขียวตกตะกอนเกิดการสูญเสียเปล่า นอกจากนี้ยังช่วยให้ปุ๋ยที่ตกตะกอนทับถมกันอยู่กระจายฟุ้งขึ้นมา เพื่อเป็นประโยชน์โดยตรงต่อน้ำเขียวซึ่งจะมีผลทำให้ผลผลิตของไรแดงสูงขึ้น
9. แสงแดด แสงแดดนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด และควบคุมได้ยากมากที่สุด แสงแดดจะมีผลต่อปริมาณความหนาแน่นของน้ำเขียว และระยะเวลาที่ใช้ในการเพาะไรแดงโดยตรง ในการเพาะไรแดงถ้าทำการเพาะในช่วงที่มีแดดจัดจะทำให้ผลผลิตของไรแดงสูงขึ้น และใช้ระยะเวลาสั้นกว่าการเพาะในช่วงทีมีแดดไม่จัดหรือ ไม่มีแสงแดด
10. อุณหภูมิ อุณหภูมิจะเป็นปัจจัยธรรมชาติอีกปัจจัยหนึ่ง ซึ่งสามารถควบคุมได้ยาก จะมีผลต่อผลิตของไรแดงโดยเฉพาะเมื่ออุณหภูมิต่ำก็จะทำให้ผลผลิตของไรแดงต่ำ และเมื่ออุณหภูมิสูงถึงจุดที่เหมาะสมก็จะทำให้ผลผลิตของไรแดงสูงขึ้น ระยะเวลาในการเพาะไรแดงก็จะเร็วขึ้นด้วย ซึ่งจะทำให้การเพาะไรแดงใช้เวลาน้อยลงแต่ได้ผลผลิตสูงขึ้น
11. ศัตรูของไรแดงก็นับว่า เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะเป็นตัวกำหนดปริมาณของไรแดงในบ่อ โรติเฟอร์นับว่าเป็นศัตรูชนิดหนึ่งของไรแดงเพราะว่าโรติเฟอร์เป็นตัวแย่งกินอาหารของไรแดงและจะเข้าเกาะตามตัวของไรแดง จึงควรระมัดระวังทุกขั้นตอนในการป้องกันโรติเฟอร
บ่อดินที่จะใช้เพาะเลี้ยงไรแดง ควรมีขนาดประมาณ 200-800 ตารางเมตร โดยวิธีดำเนินการดังนี้
1. กำจัดสิ่งรกภายในบริเวณบ่อและศัตรูต่างๆ ของไรแดง ประมาณ 2 วัน
2. กรองน้ำลงบ่อให้มีระดับน้ำสูงจากพื้นบ่อประมาณ 25-40 เซนติเมตร พร้อมกับเติมปุ๋ยและอาหารลงไป
3. สูตรอาหารที่ใช้มีดังนี้

วัสดุบ่อ 200 ตรม.บ่อ 800 ตรม.
ปูนขาว15 กก.60 กก.
อาม-อามิ25 ลิตร100 ลิตร
ปู๋ย สูตร 16-20-02.5 กก.10 กก.
ยูเรีย1.2 กก.5 กก.
กากถั่วเหลือง2.5 กก.10 กก.
ถ้าไม่มีอามิ-อามิ ให้ใช้มูลไก่ประมาณ 80 กก./800 ตารางเมตร แล้วใส่น้ำเขียวประมาณ 2 ตัน ถ้าไม่มีน้ำเขียวก็หมักทิ้งไว้ประมาณ 3 วัน
4. เมื่อน้ำในบ่อมีสีเขียวแล้วให้เติมเชื้อไรแดงอย่างดีประมาณ 2 กิโลกรัม
5. เริ่มเก็บเกี่ยวไรแดงได้ในวันที่ 4-7 จึงควรเก็บเกี่ยวไรแดงให้ได้มากที่สุด (ควรเก็บเกี่ยวในช่วงเช้าก่อนพระอาทิตย์จขึ้นจะเก็บเกี่ยวได้สะดวกและได้ปริมาณมาก) หลังจากนั้นไรแดงจะเริ่มลดน้อยลง จึงควรเติมอาหารลงไป อาหารที่ควรเติมในระยะนี้ควรจะเป็นพวกย่อยสลายเร็ว เช่น น้ำถั่วเหลือง น้ำเขียว รำ เลือดสัตว์ ปุ๋ยวิทยาศาสตร์และปุ๋ยคอก เป็นต้น โดยเติมอาหารลดลงไปจากเดิมครึ่งหนึ่ง ไรแดงจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นอกภาพใน 2-3 วัน และจะกลับลดลงไปอีกก็ให้เติมอาหารลงไปเท่ากับครั้งที่ 2 ในกรณีนี้การเกิดไรแดงจะลดจำนวนลงมากถึงจะเติมอาหารลงไปอีก ไรแดงก็จะไม่เพิ่มปริมาณมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการใส่อาหารกับผลผลิตที่ได้และเวลาที่เสียไปเห็นว่าไม่คุ้มกับการลงปุ๋ยแล้วจึงควรเริ่มการเพาะเลี้ยงไรแดงใหม่ ซึ่งปกติแล้วเมื่อไรแดงไม่ได้ 15 วัน ก็จะเริ่มต้นใหม่
ราคาจำหน่าย
ไรแดงสดที่มีชีวิตจะมีราคาสูงกิโลกรัมละ 50-80 บาท ขึ้นกับฤดูกาลและไรแดงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติมีปริมาณน้อยลง เนื่องจากแหล่งเกิดไรแดงตามธรรมชาติลดลง แต่ความต้องการไรแดงเพิ่มขึ้น คาดว่าการผลิตไรแดงเพื่อจำหน่ายจะเป็นอาชีพที่ทำรายได้ให้เกษตรกรอย่างมาก
ต้นทุนการผลิตไรแดงแบบไม่ต่อเนื่อง ในบ่อซีเมนต์ 50 ตรม.
ต้นทุนค่าปุ๋ย
1. กากผงชุรส ใช้บ่อละ 8 ลิตร ๆ ละ 35 สตางค์
เป็นเงิน 2.80 บาท
2. ปุ๋ยนา (16-20-0) ใช้บ่อละ 1.2 กก. ๆ ละ 5 บาท
เป็นเงิน 6 บาท
3. ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) ใช้บ่อละ 1.2 กก. ๆ ละ 4 บาท
เป็นเงิน 4.80 บาท
4. ปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต (0-46-0) ใช้บ่อละ 0.100 กก. ๆ ละ 8 บาท
เป็นเงิน 0.80 บาท
5. ปูนขาว ใช้บ่อละ 1 กก. ๆ ละ 1 บาท
เป็นเงิน 1 บาท
6. กากถั่วเหลือง ใช้บ่อละ 1 กก. ๆ ละ 12 บาท
เป็นเงิน 12.00 บาท
รวมเป็นเงิน 27.40 บาท
ต้นทุนค่าไฟฟ้า
1. เครื่องปั๊มลมใช้มอเตอร์ 10 kw บ่อละ 6 บาทต่อวัน ระยะเวลา 2 วัน คิดเป็นเงิน 12 บาท
2. เครื่องสูบน้ำขนาด 2 นิ้ว ใช้ 1 ชั่วโมง คิดเป็นเงิน 2 บาท
ต้นทุนค่าเสื่อมราคาของอุปกรณ์
1. ค่าเสื่อมราคาบ่อซีเมนต์ 50 ตารางเมตร คิด 10 % ต่อปี ราคาก่อสร้างบ่อละ 30,000 บาท ระยะเวลาที่ใช้ 10 วัน คิดเป็นเงิน 82.19 บาท
2. ค่าเสื่อมราคาของเครื่องปั๊มลม 10% ต่อปี ราคาเครื่องละ 21,000 บาท ระยะเวลาที่ใช้ 2 วัน คิดเป็นเงิน 11.50 บาท
3. ค่าเสื่อมราคาเครื่องสูบน้ำขนาด 2 นิ้ว คิด 10 % ต่อปี ราคาเครื่องละ 7,000 บาท ระยะเวลาที่ใช้ 1 วัน คิดเป็นเงิน 1.92 บาท
4. ค่าเสื่อมราคาของปั๊มลม คิด 10% ต่อปี ราคาเครื่องละ 28,000 บาท ระยะเวลาที่ใช้ 10 วัน คิดเป็นเงิน 76.71 บาท
ต้นทุนค่าแรง
1. ค่าจ้างคนงานประจำ 3,000 บาท ต่อคนต่อเดือน ระยะเวลาทำงานเฉลี่ย 10 ชม. ๆ ละ 17 บาท คิดเป็นเงิน 170 บาท
ต้นทุนการผลินไรแดงต่อกิโลกรัม
= ค่าปุ๋ย+ค่าไฟฟ้า+ค่าเสื่อมราคา+ค่าแรงงาน
                ผลผลิตเฉลี่ย
= 301.01
     13
= 23.61
การนำไรแดงมาใช้ การนำไรแดงมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ไรแดงที่ได้จากบ่อผลิตในลักษณะนี้จะมีเชื้อโรคที่ทำอันตรายกับสัตว์น้ำน้อยกว่าไรแดงที่ไดจากแหล่งน้ำธรรมชาติ แต่เพื่อความมั่นใจจึงควรล้างด้วยสารละลายด่างทับทิม 0.1 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ซึ่งจะได้สารละลายสีชมพูอ่อน สารละลายนี้จะเพิ่มออกซิเจนให้กับไรแดงและน้ำด้วยเพราะด่างทับทิมเมื่อละลายน้ำจะให้ออกซิเจนในน้ำ สำหรับปริมาณไรแดงที่ใช้ในการอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนให้ใช้ในปริมาณ 500-800 กรัม/ลูกปลาจำนวน 100,000 ตัว/วัน โดยแบ่งอาหารให้ 4-5 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 4-6 ชั่วโมง ระวังอย่าให้มีลูกไรเหลือลอยอยู่ตลอดเวลา เพราะลูกไรส่วนมากจะตาย หมักหมมอยู่บริเวณพื้นบ่อการอนุบาลลูกปลาดุกอุยตั้งแต่ไข่แดงยุบในระยะเวลา 2 สัปดาห์ จะได้ลูกปลาดุกอุยขนาดเฉลี่ย 2 เซนติเมตร ในการอนุบาลลูกปลาดุกอุย หรือ ปลาดุกเทศ อาจใช้อาหารสำเร็จรูปช่วยได้โดยเริ่มฝึกให้ลูกปลากินอาหารสำเร็จรูป เมื่อลูกปลามีอายุได้ 8-10 วัน โดยให้พร้อมกับไรแดง แล้วค่อย ๆ ลดปริมาณไรแดงลงและเพิ่มปริมาณอาหารสำเร็จรูป จนกระทั่งลูกปลาสามารถกินอาหารสำเร็จรูปได้ทั้งหมด
การลำเลียงขนส่งไรแดง
การขนส่งไรแดงนั้นควรลดกิจกรรมการดำเนินชีวิตของไรแดงโดยบรรจุไรแดงในอุณหภูมิต่ำเพื่อให้เกิดการใช้พลังงานต่าง ๆ ในตัวให้น้อยที่สุด ในระหว่างการลำเลียงนั้นควรให้อุณหภูมิภายในถุงเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้า ๆ ไม่รวดเร็วและช่วงกว้างของการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิไม่มากนักจนเป็นอันตรายต่อไรแดง การขนส่งไรแดงที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันควรทำดังนี้
1. การขนส่งไรแดงโดยวิธีนำไรแดงแช่ในน้ำแข็งประมาณ 1-2 วินาทีเพื่อลดกิจกรรมและระบบการเผาผลาญพลังงานในตัวเอง แล้วรีบบรรจุในน้ำสะอาด และมีน้ำแข็งคลุมรอบนอกถุง เป็นวิธีที่ดีที่สุด
2. การขนส่งไรแดงในระยะทางใกล้ ๆ ซึ่งใช้ระยะเวลา 2-3 ชั่วโมง นั้น ไม่จำเป็นต้องใช้ไรแดงแช่ในน้ำแข็ง แต่ควรนำไรแดงมาบรรจุในน้ำสะอาดแล้วอัดออกซิเจน คลุมน้ำแข็งรอบ ๆ แล้วขนส่งไรแดงในรถที่มีเครื่องปรับอากาศก็ยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งมากยิ่งขึ้น ในกรณีที่ไม่สามารถหาน้ำแข็งได้ก็สามารถขนส่งในรถที่มีเครื่องปรับอากาศได้
3. การลำเลียงไรแดงในลักษณะแช่แข็งก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง เช่นเดียวกันโดยนำไรแดงไปแช่แข็งในตู้เย็นและให้ไรแดงแข็งโดยเร็ว เพื่อความสดวิธีนี้สามารถเก็บไว้ได้นานและยังสดอยู่เสมอ แต่ไรแดงที่ได้เป็นไรแดงที่ตายแล้ว สัตว์น้ำวัยอ่อนจะชอบกินไรแดงสดมากกว่าไรแดงที่แช่แข็ง การให้อาหารลูกปลาลูกกุ้งวัยอ่อนจึงควรให้ครั้งละน้อย ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเสียได้ง่า
การเก็บรักษาไรแดง
1. ใช้วิธีการเก็บโดยการแช่แข็ง วิธีนี้สามารถเก็บไว้ได้นานและยังสดอยู่เสมอ ส่วนมากเป็นไรแดงที่ตาย (โดยปกติสัตว์น้ำวัยอ่อนมักชอบกินไรแดงที่ยังมีชีวิตอยู่) ไรแดงที่เก็บโดยวิธีนี้ไม่สามารถนำไปใช้เป็นพันธุ์ในการผลิตต่อไป
2. วิธีการเก็บในอุณหภูมิต่ำประมาณ 10 องศาเซลเซียส โดยเติมน้ำลงไป 50 เปอร์เซ็นต์ จะอยู่ได้นาน 4 วัน ในภาชนะเปิดประมาณวันที่ 3 จะสังเกตเห็นไข่สีขาวขุ่นหรือสีชมพูซึ่งเป็นไรแดงชนิดที่จะต้องผสมพันธุ์กับเพศผู้ ซึ่งจะสร้างขึ้นเมื่อสภาวะแวดล้อมไม่เหมาะสม อุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส ความเป็นกรดเป็นด่างต่ำกว่า 6 หรือสูงกว่า เป็นต้น

การเลี้ยงกุ้งฝอย

กุ้งฝอยในปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมของท้องตลาดเป็นอย่างมาก อีกทั้งมีราคาดี แต่ยังมีผู้ทำการเลี้ยงน้อย ที่เราเห็นตามท้องตลาดส่วนใหญ่มักจะเป็นกุ้งธรรมชาติ จึงเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่น่าจะสร้างรายได้ที่ดีให้กับเกษตรกร
วิธีการเลี้ยงกุ้งฝอย

การเตรียมพันธุ์กุ้งฝอย


การเตรียมพันธุ์กุ้งฝอย

"กุ้ง ฝอยจะผสมพันธุ์ภายใน โดยเพศเมียจะมีไข่ขนาดเล็ก ๆ อยู่ในหัวและเมื่อได้รับการผสมแล้ว จะเคลื่อนที่มาอยู่บริเวณท้อง จนกว่าไข่จะแก่ เราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ถ้าไข่สีเขียวเข้มจนเป็นสีเทาแสดงว่าไข่แก่ เมื่อน้ำมีสภาพดี โดยเฉพาะถ้าเป็นน้ำขุ่นจะเจริญเติบโตดีมากกว่าน้ำใส ซึ่งในกรณีของน้ำที่ใช้เลี้ยงนี้ กำลังอยู่ระหว่างช่วงการศึกษาเกี่ยวกับความขุ่นของน้ำที่มีผลต่อการเจริญ เติบโตของกุ้งฝอยว่า ควรเป็นเท่าใด และกุ้งฝอยจะชอบน้ำมีสีเขียวที่มีแพลงก์ตอนพืชและไรแดง จะชอบมากและวางไข่ ลูกกุ้งจะลอยน้ำในแนวดิ่ง"

วิธีการเลี้ยงกุ้งฝอยในบ่อดิน


วิธีการเลี้ยงกุ้งฝอยในบ่อดิน

ควรเป็นบ่อขนาด 1 งาน หรือประมาณ 0.5 ไร่ ถ้าขนาดใหญ่เกินไปจะทำให้ดูแลได้ไม่ทั่วถึง ความลึกของบ่อประมาณ 1.5 เมตร เติมน้ำสูง ประมาณ 1 เมตร
แต่สิ่งสำคัญประการหนึ่งคือ การป้องกันศัตรู ดังนั้น บริเวณบ่อต้องให้โล่งเตียน เพื่อไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของ กบ เขียด งู ที่จะมาลงกินกุ้งฝอยในบ่อเลี้ยง นอกจากนี้ ในบ่อเลี้ยงต้องมีการกำจัดปลาที่เป็นศัตรูอย่าง ปลาช่อน ปลาดุกด้วย


"พวก นี้จัดเป็นศัตรูของกุ้งฝอยมาก สำคัญ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดำเนินการหาทางป้องกันไว้ โดยที่ปฏิบัติอยู่เราจะล้อมรอบบ่อเลี้ยงด้วยไนลอนเขียวตาถี่ ๆ ด้วย และในการป้องกันกำจัดศัตรูที่อยู่ในน้ำเราจะใช้พวกกากชา หางไหล ใส่ทิ้งไว้ 3 -5 วัน"

แต่อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการกำจัดศัตรูดังคำแนะนำข้างต้นแล้ว แต่ในช่วงระยะเวลาการเลี้ยง ยังจะพบศัตรูชนิดอื่น ๆ ด้วย อาจารย์สำเนาว์ บอกว่า ลูกกุ้งฝอยนี้จะเป็นอาหารที่โปรดปรานมากของสัตว์น้ำต่าง ๆ เช่น แมลงน้ำ มวนนวน มวนกรรเชียงและแมลงที่ชอบเกาะดูดเลือดต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในน้ำ
"ฉะนั้น ก่อนปล่อยพ่อ-แม่กุ้ง ควรใช้น้ำมันโซล่า (ดีเซล) สาดใส่ในบ่อเพื่อกำจัดแมลงต่าง ๆ หรือใช้อวนลากแมลงขึ้นมาก่อนเพื่อเป็นการกำจัดศัตรูของลูกกุ้งฝอยจะดีมาก"

ใน การเตรียมบ่อเลี้ยง ให้เริ่มจากหว่านปุ๋ยคอกจำนวน 150-200 กิโลกรัม หว่านรำละเอียด 30 กิโลกรัม แล้วใส่น้ำสูง 30-50 เซนติเมตร เมื่อเกิดไรแดงและโรติเฟอร์จำนวนมาก สีน้ำเริ่มเขียวให้นำพ่อแม่พันธุ์กุ้งฝอยใส่ลงไปจำนวน 4-5 กิโลกรัม
สำหรับ พ่อแม่พันธุ์กุ้งฝอยที่นำมาใส่บ่อเลี้ยง ควรคัดที่มีขนาดใหญ่ และขนาดใกล้เคียงกัน โดยสามารถคัดได้ทุกฤดูกาล ยิ่งในช่วงฤดูร้อนยิ่งดีมาก กุ้งฝอยจะขยายพันธุ์ได้เร็วในช่วงฤดูฝน เทคนิคการเร่งกุ้งให้วางไข่ ให้นำสายยางน้ำประปามาเปิดลงในบ่อ โดยการเปิดแรงๆ ประมาณ 10-20 นาที เพราะกุ้งชอบเล่นน้ำไหล แล้วจะดีดตัวทำให้ไข่ตกลงมา (ธรรมชาติน้ำนิ่งกุ้งไม่วางไข่)

อาหารที่ใช้เลี้ยงกุ้งฝอย จะใช้รำละเอียดและปลาป่น อัตรา 3 ต่อ 1 โดยจากการศึกษาในตู้เพาะเลี้ยงพบว่า สามารถให้ผลผลิตกุ้งฝอยได้ดี และมีปริมาณผลผลิตมาก รวมทั้งมีการใส่ปุ๋ยคอกเสริมบ้างเพื่อสร้างน้ำเขียว สำหรับระยะเวลาในการเพาะเลี้ยงกุ้งฝอยนั้น จากการศึกษาของอาจารย์สำเนาว์พบว่า การเลี้ยงกุ้งฝอย หากสามารถปล่อยพ่อแม่พันธุ์ได้ทุกเดือนที่พบว่ากุ้งฝอยมีไข่แก่ บริเวณช่องท้องและเมื่อกุ้งวางไข่แล้ว จะผสมพันธุ์ได้ต่อไป เมื่อลูกกุ้งเล็ก ๆ เลี้ยง 3-4 เดือน จะได้ลูกกุ้งโตเต็มวัยสามารถช้อนขายได้ หรือจะช้อนขายเมื่อเห็นว่ากุ้งในบ่อเลี้ยงมีจำนวนมาก เพราะหากกุ้งมีจำนวนมากเกินไปจะทำให้กุ้งไม่โตและกินกันเองระหว่างการลอก คราบ

นอกจากนี้ ระหว่างการเลี้ยงอาจมีการเพิ่มน้ำหากพบว่า น้ำในบ่อมีปริมาณลดลงไป หากน้ำมีจำนวนน้อยหรือตื้นเขินกุ้งจะโตช้าและอ่อนแอ
วิธีการเพาะพันธุ์กุ้งฝอย

วิธีการเลี้ยงกุ้งฝอยในบ่อพลาสติก


วิธีการเลี้ยงกุ้งฝอยในบ่อพลาสติก

วิธีการทำ
1.เตรียมบ่อลึก 70 เซนติเมตร กว้าง 2 เมตร ยาว 8 เมตร
2.ปูก้นบ่อด้วยพลาสติกสีดำ นำดินมาเทถมให้ทั่วก้นบ่อบนพลาสติกประมาณ 7-8 เซนติเมตร
3.เติมน้ำลงไปให้เต็มบ่อพอดี ทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วัน
4.นำสาหร่าย ผักตบชะวา หญ้าขน นำมาทิ้งไว้ให้เป็นฟ่อนๆ ประมาณ 4-5 ฟ่อน
5.แล้วปล่อยกุ้งลงไปประมาณ 5 ขีด ช่วงปล่อยกุ้งลงไปไม่ต้องให้อาหารประมาณ 7 วัน เพื่อให้กุ้งปรับสภาพในบ่อ

อาหารกุ้งฝอย
1.ต้มไข่ให้สุก เอาเฉพาะไข่แดง 2 ฟอง
2.รำอ่อน 3 ขีด ผสมให้เข้ากัน ปั้นเท่ากำปั้น โยนลงไปในบ่อประมาณ 3 ก้อน
หลังจากให้อาหารประมาณ 1 เดือน กุ้งจะวางไข่ ให้สังเกตตอนกลางคืนโดยการนำไฟฉายมาส่องดุว่ากุ้งจะวางไข่หรือไม่

เทคนิค การเร่งกุ้งให้วางไข่ ให้นำสายยางน้ำประปามาเปิดลงในบ่อ โดยการเปิดแรงๆ ประมาณ 10-20 นาที เพราะกุ้งชอบเล่นน้ำไหล แล้วจะดีดตัวทำให้ไข่ตกลงมา (ธรรมชาติน้ำนิ่งกุ้งไม่วางไข่) ประมาณ 1-2 เดือน กุ้งก็จะโตเต็มที่ ใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 4 เดือน จะได้กุ้งประมาณ 20-30 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 100-200 บาท

สูตรวิธีการช่วยดับกลิ่น ฆ่าเชื้อโรคในบ่อ และให้กุ้งโตเร็ว
1.EM 2 ช้อนแกง
2.กากน้ำตาล 2 ช้อนแกง
3.น้ำ 1 ลิตร
นำส่วนผสมมาหมักรวมกัน ตั้งทิ้งไว้ในที่ร่ม 1 อาทิตย์
อัตรา ส่วนในการใช้ อีเอ็ม 1 ลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ใส่บัวรดน้ำราดให้ทั่วบ่อ จะใช้หลังจากที่เติมน้ำลงไปก่อนปล่อยกุ้ง จะช่วยดับกลิ่น ฆ่าเชื้อโรคในบ่อ กุ้งโตเร็ว