วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สายพันธุ์ปลาหมอสี

ปลาหมอสี(Clossbreed) ปลาหมอสครอสีครอสบรีด

ปลาหมอสครอสีครอสบรีดนี้นับเป็นกระแสความแรงและเด่นมากในวงการปลาหมอสีตั้งแต่ปี2544 เป็นต้นมากระทั่งปัจจุบันซึ่งปลาตระกูลนี้ส่วนมากจะ

นำเข้าจากประเทศมาเลเซีย อันได้แก่ ปลาหมอสีตระกูลHorn และ Mermaid หรือแม้กระทั่งการพยายามเพาะพันธุ์ให้ได้สายพันธุ์ใหม่ๆขึ้นมา แม้ว่าในบางครั้งอาจจะมีเสียงคัด

ค้านจากผู้ที่นิยมเลี้ยงปลาหมอสีสายพันธุ์บ้างก็ตาม ซึ่งในการนำปลามาผสมข้ามสายพันธุ์เช่นนี้จะก่อให้เกิดสายพันธุ์ที่ไม่นิ่งอีกทั้งยังไม่เป็นการอนุรักษ์สายพันธุ์แท้ ถึงกระนั้นความนิยมในปลาหมอสีประเภทข้าม สายพันธุ์(Crossbreed) ก็ยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่มีท่าทีว่าจะหยุดนิ่ง ซึ่งล่วงเลยมาเป็นเวลา 2-3เลยทีเดียว

ซึ่งปลาหมอสีที่คนไทยนิยมนำเข้ามาผสมข้ามสายพันธุ์ได้แก่ปลาหมอสีสายพันธุ์ใหม่จากอเมริกากลางและอเมริกาใต้ โดยลักษณะเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ 1 ฟุตขึ้นไป มีการเจริญเติบโตค่อนข้างเร็วมีนิสัยที่ก้าวร้าวหรือร้าย อีกทั้งยังเป็นปลาที่สามารถวางไข่ได้ทุกๆ 3-4 ครั้งอีกด้วย ซึ่งการวางไข่แต่ละครั้งก็จะได้ไข่ประมาณครอกละ 300 ฟองขึ้นไป ส่งผลให้ผู้เพาะเลี้ยงได้ผลตอบแทนเป็นลูกปลาค่อนข้างสูง และทำให้การพัฒนาสายพันธุ์ปลาหมอสีตระกูลดังกล่าวเป็นไปได้

ปลาหมอฟลามิงโก้

เป็นปลาชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาหมอสี(Cichlidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Amphilophus citrinellus (เดิม Cichlasoma citrinellum) ปลาหมอฟลามิงโก้มีสีหลากหลาย เช่น สีน้ำตาลลายแบบธรรมชาติ สีขาว สีแดง สีส้ม สีเหลือง และสีผสม ปลาที่มีสีส้มหรือสีแดง นิยมเรียกว่า ปลาหมอเรดเดวิล หรือ ปลาหมอเรดอเมริกา




ปลาหมอฟลามิงโก้เป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าว หวงอาณาเขตเป็นปลาที่อยู่ตามลำพังเพียงตัวเดียว ชอบใช้ซอกหิน ซอกไม้ ในการหลบซ่อนตัว ปลาตัวผู้มีโหนกใหญ่บนหัวและก้าวร้าวมาก ถือได้ว่าเป็นปลานักสู้ชั้นเลิศ



ปลาหมอฟลามิงโก้ที่มีขายทั่วไปอาจไม่ใช่ปลาสปีชีส์ดั้งเดิม แต่เป็นปลาลูกผสมข้ามสปีชีส์ โดยเฉพาะลูกผสมระหว่าง Amphilophus citrinellus และ Amphilophus labiatus ในระยะหลังยังมีปลาหมอสีลูกผสมแบบอื่นๆอีก เช่น ปลาหมอฟลาวเวอร์ฮอร์น ปลาหมอเทคซัสแดง ซึ่งก็สืบสายพันธุ์ส่วนหนึ่งมาจากปลาหมอฟลามิงโก้ด้วยเช่นกัน







ปลาหมอฟลามิงโก้ (Midas Cichlid)

ปลาหมอฟลามิงโก้ (Amephoilophus citrinellus)หรือที่เดิมเคยคุ้นเคยกันดีในชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า(Cichlasoma citrinellum) เป็นหมอสีอีกหนึ่งตัวที่แพร่หลายเข้ามาเมืองไทยเป็นเวลาหลายสิบปีแล้วก็เป็นรุ่นๆเดียวกันกับปลาออสก้าร์ แล้วชื่อฟลามิงโก้นเป็นชื่อเฉพาะที่คนไทยเราตั้งขึ้นมา หากจะเรียกชื่อของปลาชนิดนี้เป็นภาษาอังกฤษก็คงต้องเรียกว่า Red Midas


ปลาหมอฟลามิงโก้ เป็นปลาที่มีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดเกิน 1 ฟุตขึ้นไป รวมทั้งมีสีสันที่หลากหลาย ไล่ตั้งแต่พื้นเหลืองจนออกถึงโทนสีแดงเข้ม บางตัวอาจมีขาวแซม สลับกับสีพื้น ซึ่งทำให้ดูรวมๆ แล้วมีสีเป็นขาวแดง สลับกับสีพื้น ซึ่งทำให้ดูรวมๆแล้วมีสีเป็นขาวแดง ขาวส้ม หรือขาวเลยก็มี ซึ่งจากการที่ปลามีหลายเฉดสีทำให้ผู้เลี้ยงเกิดความสับสนคิดและเข้าใจว่า คือ ปลาหมอชนิดใหม่ซึ่งอยากจะให้ทำความเข้าใจไว้ ณ ที่นี้ว่าไม่ว่าปลาตัวนั้นๆจะออกสีแดงเข้ามเพียงใด หรือเหลืองซีดอย่างไรก็คือ ปลาหมอฟลามิงโก้ Amephoilophus citrinellus ตัวเดียวกันนี่เอง



ลักษณะสีที่แตกต่างกันเป็นเพียง Color morphing ที่แตกต่างกันในธรรมชาติว่ากันว่าจะพบว่า ปลาชนิดนี้มีสองเฉดสีหลักๆ คือ ชาวชมพู และเทาน้ำตาล ซึ่งสีที่ออกชมพูถึงแดงนี่สันนิษฐานกันว่าจะช่วยให้ปลาชนิดนี้ดูแลลูกปลาได้ดีขึ้นในสภาพแวกล้อมของทะเลสาบที่มืด(อาจจะช่วยให้ลูกปลาสังเกตุเห็นพ่อแม่ปลาได้อย่างเด่นชัดขึ้น)



ปลาชนิดนี้จะกิน ตัวอ่อนของแมลง ปลา สัตว์น้ำขนาดเล็กๆรวมทั้งหอยเป็นอาหาร สังเกตได้จากรูปแบบของฟันปลาที่เรียงกันเป็นแถว ส่วนในที่เลี้ยง หากดูแลเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะปลาเพศผู้ส่วนหัวจะโหนกเร็วมากเป็นการคืนกำไรให้กับความตั้งใจดูแลเอาใจใส่อย่างดีของ

คนเลี้ยงก็สามารถฝึกให้กินอาหารได้หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นอาหารสำเร็จรูป เนื้อสัตว์ที่ตายแล้ว หรืออาหารที่มีชีวิตทุกรูปแบบ



ปลาหมอฟลามิงโก้ เป็นปลาที่เลี้ยงง่ายเติบโตได้ดี ถ้าดูแลเอาใจใส่สม่อเสมอ โดยเฉพาะปลาเพศผู้ส่วนหัวจะโหนกเร็วมากเป็นการตอบแทนที่เราเอาใจใส่เค้าเป็นอย่างดีครับ



การจะสังเกตุเพศปลาชนิดนี้ทำได้ไม่ยากโดยเฉพาะปลาที่มีขนาดใหญ่โตเต็มที่แล้ว ปลาเพศผู้


จะมีส่วนหัว Nuchal Hump ที่โหนกนูนใหญ่กว่าของปลาเพศเมียมาก ชายครีบของปลาตัวที่สม

บูรณ์จะมี filament เดี่ยวๆที่ยาวออกมาอย่างสวยงาม การสังเกตุอีกทางที่ใช้ในการบ่งบอกเพศ

ได้แก่ การดูช่องเพศ ventimg ของปลา ปลาเพศผู้ช่องเพศจะออกยาวรี ส่วนของปลาเพศเมีย

จะออกเป็นทรงกลม รวมทั้งยื่นออกมาให้เห็นอย่างได้เด่นชัดในช่วงที่ปลาใกล้ผสมพันธุ์ เมื่อปลา

ชนิดนี้พร้อมที่จะผสมพันธุ์วางไข่ ปลาทั้งสองเพศจะมองหาทำเลภายในตู้แล้วเริ่มขุดหินออกเป็น

แอ่งขนาดใหญ่ หากบริเวณนั้นมีก้อนหิน ปลาทั้งสองจะช่วยกันกัดหินเป็นการทำความสะอาด เพื่อให้ปลาเพศเมียใช้เป็นทีวางไข่จำนวนหลายพันใบ



หลังจากที่ปลาวางไข่แล้วปลาทั้งสองตัวจะช่วยกันดูแลไข่ โดยที่ปลาเพศเมียจะใช้ครีบพัดโบก

เบาๆเพื่อให้กระแสน้ำไหลเวียนเป็นการเติมออกซิเจนให้กับไข่ที่กำลังฟัก โดยปกติแล้วไข่ของ


ปลาชนิดนี้จะฟักเป็นตัวภายใน 3 วัน หลังจากที่ไข่ฟักเป็นตัวแล้วลูกปลายัไม่สามารถว่ายน้ำได้

จนกระทั่งถุงไข่ที่ติดมาด้วยกับปลาได้ยุบหมดแล้ว ลูกปลาจึงเริ่มว่ายหาอาหาร




ปลาฟรอนโตซ่า (Cyphotilapia frontosa)


ปลาหมอฟรอนโตซ่า ปกติเป็นปลาที่พบได้บริเวณที่มีน้ำลึกตั้งแต่ 5 เมตรขึ้นไป โดยที่บริเวณดังกล่าวจะมีแนวโขดหินความลึกโดยเฉลี่ยที่จะสามารถพบปลาชนิดนี้ได้ขึ้นอยู่กับขนาดของฝูงปลา และลักษณะของบริเวณพืนที่ที่พบ เช่นที่ Milima Island ซึ่งเป็นหนึ่งในหมู่เกาะ Kavala จะพบ

ปลาชนิดนี้ได้ในความลึกระหว่าง 4-50 เมตร และบริเวณส่วนที่ตื้นที่สุดของบริเวณ Kapampaจะพบฝูงปลาฟรอน โตซ่าได้ที่ความลึก 25-30 เมตรตลอตจนสามารถพบเจ้าฟรอนโตซ่าตามบริเวณที่มีน้ำลึกมากๆ และมีแนวโขดหินทั่วทะเลสาบ



ปลาชนิดนี้จะอยู่ร่วมกันเป็นฝูง และปกติจะพบตัวผู้ที่เป็นหัวหน้าฝูงอยู่กับตัวเมียหลายๆตัว ซึ่งตัวเมียบางตัวอาจจะกำลังอมไข่อยู่ และบางทีก็จะพบว่าในฝูงนั้นยังมีตัวผู้อื่นๆ ที่มีขนาดเล็กกว่าตัวหัวหน้าฝูงอีกด้วย บรรดาฝูงฟรอนโตซ่าตัวเล็กๆ หรือที่เพิ่งโตขึ้นมาจะพบได้บริเวณน้ำตื้น แต่ตัวขนาดใหญ่ที่มีลำตัวยาวตั้งแต่ 30 ซม. ขึ้นไปจะพบได้บริเวณที่ความลึกที่ต่ำกว่า 20 เมตร ชื่อของปลาชนิดนี้มาจากลักษณะบริเวณหัวที่มีโหนกออกมาโดดเด่น โดยเฉพาะในตัวผู้ ส่วนตัวเมียจะมีหัวที่ค่อนข้างมนกลม และครีบท้องมักจะไม่ค่อยยาวเกินไปถึงครีบบริเวณทวาร ปลาชนิดนี้โดยจะอาศัยอยู่ในบริเวณที่เป็นโขดหิน และมีพื้นที่เป็นทราย เป็นปลาชนิดที่อมไข่ ตัวผู้มีขนาดยาวได้ถึง33 ซม. หรือ 12-13 นิ้ว ในขณะที่ตัวเมียส่วนใหญ่จะมีขนาดไม่เกิน 22 ซม. หรืประมาณ 8-9 นิ้ว



ฟรอนโตซ่า เป็นปลาที่มีรูปทรงสูง และมีลักษณะที่เพรียวครีบยาวพริ้วสมส่วน เหมาะสำหรับการเลี้ยงในตู้ เพราะมีสีตามลำตัวและครีบที่มีลักษณะสวยงาม ซึ่งให้ความเพลิดเพลินแก่ผู้ที่เลี้ยงในเวลาที่มองด้านข้างของปลา สำหรับคนพื้นเมืองปลาชนิดนี้จะเป็นที่นิยมบริโภคมาก เพราะมีรสชาติอร่อยแต่หาได้ค่อยข้างยาก เพราะปลาชนิดนี้อาศัยอยู่ในบริเวณน้ำที่ค่อนข้างลึก





ฟรอนโตซ่า เป็นปลาที่มีการเคลื่อนไหวในลักษณะค่อนข้างสุขุมไม่รวดเร็วนอกจากเวลาที่ถูกไล่หรือต้อน โดยนักดำน้ำที่ดำลงไปดูความสวยงามของทะเลสาบและฝูงปลา ปกติ


ปลาฟรอนโตซ่ามักจะใช้วิธีการลอยตัวสยายครีบกระโดง และหาง ซึ่งนอกจากจะแสดงให้เห็นถึงความสวยงามแล้วยังเป็นวิธีการประหยัดพลังงานแบบหนึ่งของปลาชนิดนี้ แต่ละช่วงเวลาที่ปลาฟรอนโตซ่าหาอาหารก็จะมีปฏิกิริยาที่ว่องไวมากในการล่าเหยื่อ ปลาฟรอนโตซ่า ที่ยังมีขนาดเล็กจะกินอาหารจำพวกสัตว์น้ำที่มีเปลือกอ่อนๆต่างๆ แต่พวกที่มีขนาดใหญ่จำพวกที่กินเนื้อ(Piscivore) โดยมีลักษณะของฟันที่แหลมคมเรียงกันอยู่บริเวณกระพุ้งแก้ม ในกระเพาะจะพบปลาขนาดเล็ก ดังนั้นปลาขนาดเล็กที่ในตู้ปลาของท่านอาจจะมีโอกาสเป็นอาหาร

เจ้าฟรอนโตซ่าได้ ซึ่งในธรรมชาติปลาที่มักจะเป็นอาหารของฟรอนโตซ่าก็คือปลาจำพวก Cyprichrimisหรืออาจจะเป็นพวกปลาตระกูล Herring ที่จะพบอยู่มากบริเวณที่พบฟรอนโตซ่า



จากการสังเกตุจะเห็นได้ว่าฟรอนโตซ่า เป็นปลาที่มีเลห์เหลี่ยมพอสมควรในการหาอาหารตามธรรมชาติแทนที่จะออกแรงไล่พวกปลาเหยื่อเหล่านั้น บางคงกล่าวว่าฟรอนโตซ่ามักจะใช้เวลาในช่วงเย็นๆหรือช่วงเช้ามืดหาอาหาร ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ปลาที่จะตกเป็นเหยื่อพักผ่อนอยู่บริเวณพื้น ซึ่งบางทีอาหารของฟรอนโตซ่าตามธรรมชาติก็เป็น Cyprichrimis ชราๆ ที่พ่ายแพ้ต่อปลาหนุ่มๆมา



การดูแลรักษา ตู้ที่ใช้เลี้ยงปลาชนิดนนี้ควรจะมีระบบหมุนเวียนของน้ำทีดี น้ำค่อนข้างๆสะอาดและกระด้างพื้นอาจจะปูด้วยทราย หรือกรวดแม่น้ำที่มีสีไม่สว่างนักประกอบด้วยก้อนหิน ซึ่งนอกจากจะแสดงขอบเขตของปลาแต่ละตัวแล้ว แล้วยังเป็นที่หลบของปลาด้วย และที่สำคัญควรจะมีประการัง เพื่อรักษาระดับ pHหรือความกระด้างของน้ำไว้ให้อยู่ประมาณ 7.5-9 โดยท่านสามารถใส่ได้ทั้งในตู้หรือระบบกรองน้ำ ปลาชนิดนี้เป็นปลาน้ำลึกจึงไม่ต้องการแสงสว่างมากนักในที่เลี้ยง



ฟรอนโตซ่า เป็นปลาที่ค่อนข้างจะไม่ค่อยว่ายไปว่ายมานัก ดังนั้นตู้ที่มีขนาดเหมาะสมอาจจะเป็นตู้ที่มีขนาด 150 ซม.x 60 ซม. (60x20x20 นิ้ว) ซึ่งจะสามารถเลี้ยงปลาชนิดนี้รวมกันได้ 4-5 ตัว

โดยควรจะเป็นตัวผู้ 1 ตัวกับตัวเมียอีก 4 ตัว เพราะถ้าตัวผู้อยู่รวมกันมากๆ อาจมีการต่อสู้หรือกัดกันได้ ในกรณีที่ตัวเล็กกว่าไม่ยอมหลบหลีกหนี หรือถ้าท่านสามารถเลี้ยงในตู้ที่มีขนาดใหญ่ก็จะเป็นการดี เช่น ตู้ขนาด 96x24x30 นิ้ว หรือ 120x24x30 นิ้ว ขนาดความหนาของกระจกประมาณ 4 หุน ซึ่งราคาประมาณ10,000 - 15,000 บาท น่าจะเป็นตู้ที่ทำให้ท่านเพลิดเพลินกับการเลี้ยงปลาชนิดนี้จำนวน8-9 ตัว เพราะตามธรรมชาติฟรอนโตซ่าจะอยู่รวมกันเป็นฝูง ซึ่งจะทำให้ปลามีความเครียดน้อย และแย่งกันกินอาหาร ซึ่งนั่นก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้เลี้ยงฟรอนโตซ่าส่วนใหญ่ชื่นชอบพฤติกรรมการกินอาหารของปลาชนิดนี้



การเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นๆ สามารถทำได้แต่อย่าให้ปลาอื่รๆ นั้นมีขนาดเล็กกว่ามาก แต่ปลาชนิดนั้นควรจะมาจาก แทนแกนยิกา(Lake Tanganyika) และท่านควรจะมั่นใจว่าปลาชนิดเหล่านั้นเป็นปลาที่มีลักษณะความต้องการอาหารในแบบเดียวกัน เพื่อง่ายต่อการดูแล อาหารของปลาชนิดนี้ได้แก่ ไรน้ำนางฟ้าไรทะเล,ลูกน้ำ,เนื้อปลา,ลูกปลา,กุ้งฝอย, หรือแม้แต่อาหารเม็ดและตู้ที่ท่านเลี้ยงควรจะมีฝาปิด เพื่อป้องกันการกระโดดของปลา เพราะฟรอนโตซ่าเป็นปลาที่ตกใจง่าย และจะว่ายน้ำอย่ารวดเร็ว ตลอดจนอาจจะกระโดดบ้างในบางครั้งที่ตกใจ ดังนั้นบริเวณที่จัดวางตู้ปลส ไม่ควรเป้นที่พลุกพล่านมีผู้คนผ่านไปมามากๆเพราะอาจทำให้ปลาเครียดได้ ควรเป็นที่อากาศถ่ายเทได้ดีและแสงแดดไม่สามารถสองถึงได้โดยตรง




พฤติกรรมและการผสมพันธุ์



ฟรอนโตซ่าเป็นปลาที่ผสมพันธุ์และมีการเลี้ยงตัวอ่อนอยู่ในปากหรือบริเวณกระพุ้งแก้ม ซึ่งปกติบ้านเรามักจะเรียกว่าปลาอมไข่ โดยตัวเมียจะเป็นผู้ดูแลตัวอ่อน ซึ่งปริมาณของตัวอ่อนที่ได้จะประมาณ 10-60 ตัวแต่มีบางสายพันธุ์หรือในบางกรณีที่ปลายังไม่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เต็มที่ อาจจะทำให้ปริมาณตัวอ่อนที่ได้น้อยลง ตลอดจนสภาพแวดล้อมในตู้หรือสถานที่เพาะเลี้ยงก็มีส่วนสำคัญกับปริมาณของตัวอ่อนโดยเวลาที่ผสมพันธุ์กันตัวผู้จะส่งสัญญาณให้ตัวเมียตามมันไปในบริเวณถ้ำหรือโขดหิน ปลาหมอชนิดนี้เป็นปลาที่สืบพันธุ์โดยปลาเพศเมียจะอมไข่ทันทีหลังจากที่ได้รับการปฏิสนธิจากปลาตัวผู้ไข่จะใช้เวลาฟักเป็นตัวเกือบ 4-5 อาทิตย์ การเพาะพันธุ์ปลาฟรอนโตจะใช้เวลา 3-4 ปีในการเจริญเติบโตจากขนาด 1 นิ้ว จนถึงขนาดที่ผสมพันธุ์ได้ ลักษณะที่ใช้ในการแยกเพศ คือ ส่วนหัวและโหนกปลาเพศผู้จะมีหัวที่โหนกนูนกว่าปลาเพศเมียอย่างเห็นได้ชัด รวมทั้งการสังเกตุพฤติกรรมของปลาในกลุ่มปลาตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าปลาเพศเมียมากอาจถึง 1 ฟุต แต่ในขที่ปลาตัวเมียถ้ามีขนาดถึง 10 นิ้วก็นับว่าเป็นตัวเมียที่มีขนาดใหญ่มากแล้ว





ปลาหมอเซวาลุ่ม(Gold Seve rum) Cichlasoma severum Habitat

ปลาหมอเซวาลุ่ม เป็นปลาหมอสีประเภทวางไข่จากอเมริกาใต้อีกชนิดหนึ่งที่แพร่หลายเข้ามาในบ้านเรา


เป็นเวลานานแล้วจัดเป็นปลาหมอสีที่มีนิสัยสุภาพเรียบร้อยไม่เกเรมากมายเมื่อเทียบกับปลาหมอชนิดอื่นๆ ถิ่นกำเนิดของปลาชนิดนี้อยู่ในลุ่มแม่น้ำอะเมซอนในทวีปอเมริกาใต้ในธรรมชาติสายพันธุ์ที่พบจะเป็นเซวาลุ่มเขียวว่ากันว่าสายพันธุ์ของเซวาลุ่มเขียวนั้นก็มีสายพันธุ์ย่อยๆลงไปอีก บางตัวจะออกเหลือบเขียวอย่างเด่นชัดในขณะที่บางตัวออกเพียงสีน้ำตาล

ปลาหมอเซวาลุ่มทอง เป็นปลาที่มีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ รูปร่างกลมป้อม มีปลาหมอเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่มีรูปทรงแบบนี้ ลูกปลาขนาดเล็กๆจะมีสีเหลืองนวล อาจจะมีลวดลายจุดเหลือง ส้มประตามลำตัว ตะเกียบ และครีบก้นจะมีสีเหลืองอมส้มถึงแดง เมื่อปลาโตเต็มที่จุดเหลืองจะเข้มขึ้นเรื่อยๆจนถึงสีแดงลักษณะปลาหมอเซวาลุ่มทองที่มีจุดแดงบนเกล็ดนั้นเป็นลักษณะที่สวยงามมาก ซึ่งโดยทั่วไปแล้วที่เราพบเห็นส่วนมากจะเป็นเซวาลุ่มแบบที่มีสีพื้นเป็นสีเหลืองเสียมากกว่าไม่มีจุดแดง ปลาชนิดนี้เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย กินอาหารสำเร็จรูปได้ สามารถเลี้ยงรวมกับปลาหมอจากอเมริกาใต้ อาทิ ปลาหมอเซวาลุ่มเขียว ปลาหมอช๊อกโกแลต



การสังเกตเพศของปลาชนิดนี้ หากคุณซื้อปลาชนิดนี้ตั้งแต่ขนาด

เล็กๆไม่เกิน 1 นิ้ว มาเลี้ยงเกิน 2 คู่ขึ้นไป เปอร์เซ็นต์ที่คุณจะได้

ปลาทั้งสองเพศก็มีมาก ปลาเพศผู้จะมีขนาดใหญ่กว่า ชายครีบ

ต่างจะยาวกว่าเพศเมีย รวมทั้งบริเวณแก้มจะมีลวดลายคล้ายรอย

หยักของสมอง ปลาเพศเมียจะมีขนาดเล็กกว่า โดยเฉพาะปลา

ในครอกเดียวกัน รูปทรงจะออกแนวยาวไม่กลมป้อมเหมือนปลา


เพศผู้ พูดถึงเรื่องการผสมพันธุ์ปลาชนิดนี้ซึ่งเป็นปลาหมอที่วางไข่ติดกับวัสดุใต้น้ำ แม่ปลาใกล้จะวางไข่ ปลาเพศผู้จะและเพศเมียจะกัดวัสดุที่ปลาจะวางไข่ เป็นการทำความสะอาด ยิ่งแม่ปลาใกล้จะวางไข่เท่าไหร่เดือยสีขาวขุ่นจะยื่นออกมาอย่างเห็นได้เด่นชัด แม่ปลาจะวางไข่ได้หลายพันฟองขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของแม่ปลา เมื่อแม่ปลาออกไข่เสร็จเรียบร้อยแล้วจะฟักเป็นตัวลูกปลาภายใน 3 วัน


ปลาหมอมาลาวี น้ำเงินAulonacara nyasssae Habitat


เป็นปลาที่มีแหล่งกำเนิดในทะเลสาบ Malawi ประเทศแอฟริกา ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 7 นิ้ว กินอาหารประเภทสดและสำเร็จรูป การสังเกตุเพศปลา ปลาเพศผู้จะมีสีน้ำเงินเข้ม ส่วนปลาเพศเมียจะอมไข่และฟักไข่ภายในปาก

ปลาหมอมาลาวี สีน้ำเงิน เป็นปลาในตระกูล Cichids ตัวหนึ่งที่รู้จักกันดี เนื่องจากสีน้ำเงินอันสดใสคล้ายปลาทะเล ปลาชนิดนี้ถ้ายังไม่โตเต็มวัยจะมีสีสันที่สร้างความฉงนให้กับนักเลี้ยงปลามือใหม่ได้เสมอว่าปลาที่เพิ่งซื้อมานี่เป็นลูกปลาหมอมาลาวีจริงๆ ไม่ใช่ลูกปลานิล



แหล่งกำเนิดของปลาหมอมาลาวี คือ ทะเลสาบมาลาวี ประเทศอัฟริกา ซึ่งเต็มไปด้วยโขดหิน ปลาเพศผู้จะมีอาณาบริเวณของตัวเอง(Halem) และจะแสดงอาการดุร้ายทันทีที่มีผู้รุกราน ฉะนั้นตู้ที่เลี้ยงปลาชนิดนี้ควรมีปลาตัวเมียที่มากกว่าปลาตัวผู้ อัตราส่วน ตัวเมีย 3 ตัวผู้ 1 ก็จะเป็นสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อแก้ปัญหาตัวผู้แย่งตัวเมีย



ปลาหมอมาลาวี เป็นปลาที่สามารถขยายพันธุ์ภายในที่เลี้ยงได้ปลาเพศเมียจะอมไข่ไว้ไข่จะฟักเป็นตัวภายใน 8-10 วัน ทุกวันนี้มีการผสมข้ามสายพันธุ์ปลาชนิดนี้กันมาก มาลาวีสีน้ำเงินที่เราเห็นขายกัน โดยมากเป็นลูกผสม จึงอาจทำให้มาลาวีที่ท่านซื้อมาเลี้ยง แล้วบางครั้งเวลาที่พวกเค้าโตเต็มที่แล้วจะไม่ออกน้ำเงินเข้ม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น