การเลี้ยงปลากัดเป็นปลาสวยงามมักนิยมเลี้ยงในขวดหรือโหลขนาดเล็ก ไม่นิยมเลี้ยงร่วมกับปลาชนิดอื่น เพราะเป็นปลาที่ชอบสร้างอาณาเขตและมักจะไล่กัดปลาที่มีขนาดไล่เลี่ยกัน ซึ่งในช่วงนี้ปลาจะมีสีสดเข้มสวยงาม แต่ถ้านำไปเลี้ยงกับปลาขนาดใหญ่ปลาจะตื่นตกใจ เหมือนกับการแพ้คู่ต่อสู้ ในช่วงนี้ปลาก็จะสีซีดดูไม่สวยงาม จึงจำเป็นต้องเลี้ยงปลากัดไว้เพียงตัวเดียวในภาชนะที่ไม่ใหญ่มากนัก ปลาก็จะมีความรู้สึกว่าสามารถสร้างอาณาเขตของตัวเองไว้ได้ก็จะมีสีสันสดใสสวยงาม จัดว่าเป็นปลาที่ติดตลาด ทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ สามารถจำหน่ายได้ดีตลอดปี โดยเฉพาะเด็กจะชอบหาซื้อปลากัดไปเลี้ยง เพื่อนำไปกัดแข่งขันกัน แล้วก็หาซื้อปลาตัวใหม่อยู่เสมอ
ภาพที่ 1 ลักษณะภาชนะรูปแบบต่างๆที่สวยงามนำมาใช้เลี้ยงปลากัด
1 ประวัติของปลากัด
ปลากัดเป็นปลาพื้นบ้านของไทย ในธรรมชาติชอบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนิ่ง เช่น หนอง บึง หรือชายทุ่งนา โดยมักพบตามชายฝั่งที่ตื้นๆและมีพรรณไม้น้ำมาก เป็นปลาที่จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับพวก Labyrinth Fish ได้แก่ พวกปลากระดี่ทั้งหลาย ซึ่งเป็นกลุ่มปลาที่มีอวัยวะช่วยหายใจ ทำให้ปลาอาศัยอยู่ในที่มีออกซิเจนต่ำได้ จึงทำให้สามารถเลี้ยงปลากัดในขวดต่างๆที่มีปากขวดแคบๆได้ ปลากัดจัดว่าเป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร โดยจะชอบกินแมลงและตัวอ่อนของแมลงต่างๆ (Insectivores)
ภาพที่ 2 ลักษณะของหนองน้ำและการหาปลากัดในหนองน้ำ
Nelson (1984) ได้จัดลำดับชั้นของปลากัดไว้ดังนี้
Superclass : Osteichthyes
Class : Actinopterygii
Order : Perciformes -- perch-like fishes
Suborder : Anabantoidei -- labyrinthfishes
Family : Osphronemidae Bleeker, 1859 -- giant gouramis
Subfamily : Macropodinae Liem, 1963
Genus : Betta
ปลากัดที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทยมานานแล้วนั้นถูกจัดให้เป็นชนิด splendens หรือมีชื่อวิทยาศษสตร์ว่า Betta splendens, Regan, 1910 ปัจจุบันได้มีการสำรวจพบชนิดของปลากัดประมาณ 50 - 60 ชนิด โดยจัดแบ่งกลุ่มตามลักษณะการวางไข่ออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
1 กลุ่มแรก เป็นปลากัดที่ก่อหวอดวางไข่ เป็นปลากัดที่ผู้เพาะเลี้ยงปลากัดส่วนใหญ่ดำเนินการกันมานานแล้ว ปลาเพศผู้จะสร้างรัง เรียกว่าหวอดที่บริเวณผิวน้ำและจะติดอยู่ใต้ใบพันธุ์ไม้น้ำชายฝั่ง เพื่อใช้ในการฟักไข่ ตัวอย่างปลากัดในกลุ่มนี้ เช่น Betta coccina B. brownorum B. burdigala B. livida B. rutilans B. tussyae
2 กลุ่มที่สอง เป็นปลากัดอมไข่ เป็นปลากัดที่ถูกนำมาเลี้ยงยังไม่นานนัก เป็นปลาที่มีพฤติกรรมการแพร่พันธุ์วางไข่คล้ายกับปลาหมอสีกลุ่มที่อมไข่ เพื่อให้ไข่ฟักตัวภายในปาก ตัวอย่างปลากัดในกลุ่มนี้ เช่น Betta akarensis B. patoti B. anabatoides B. macrostoma B. albimarginata B. channoides
ภาพที่ 3 แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัด Betta splendens
ภาพที่ 4 แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัดที่ก่อหวอดวางไข่
ภาพที่ 5 แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัดอมไข่
3 ลักษณะรูปร่างของปลากัด
ปลากัดจัดเป็นปลาขนาดเล็ก ลำตัวมีความยาวประมาณ 5 - 7 เซนติเมตร ลักษณะลำตัวเรียวยาว แบนข้าง ปากมีขนาดเล็กเชิดขึ้นด้านบนเล็กน้อย ส่วนหัวมีเกล็ดปกคลุม ครีบก้นมีฐานครีบค่อนข้างยาว มีจำนวนก้านครีบ 23 - 26 อัน ครีบท้องเล็กยาว สีของลำตัวเป็นสีเทาแกมดำ สีของครีบและเกล็ดบริเวณใกล้ครีบจะเป็นสีสดเข้มสีใดสีหนึ่งทั้งตัว เช่น ปลากัดสีแดง จะมีครีบทุกครีบและเกล็ดที่อยู่ใกล้ครีบเป็นสีแดงทั้งหมด
ภาพที่ 6 แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัด
4 ลักษณะพันธุ์ของปลากัด
ปลากัดที่มีเพาะเลี้ยงกันอยู่ในปัจจุบัน มีหลายสายพันธุ์ดังนี้
4.1 ปลากัดลูกหม้อ มีลักษณะลำตัวค่อนข้างหนาเมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่น ส่วนหัวค่อนข้างโต ปากใหญ่ ครีบสั้นสีเข้ม เดิมมักจะเป็นสีเขียว หรือสีน้ำเงินแกมแดง แต่ปัจจุบันมีหลายสี เช่นสีแดง สีน้ำเงิน สีม่วง สีเขียว และสีนาก เป็นชนิดที่มีความอดทน กัดเก่ง ได้รับความนิยมสำหรับการกัดพนัน
ภาพที่ 7 แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัดลูกหม้อ
4.2 ปลากัดลูกทุ่ง มีลักษณะลำตัวเล็กกว่าพันธุ์ลูกหม้อ ลำตัวค่อนข้างยาว ครีบยาวปานกลางหรือยาวกว่าพันธุ์ลูกหม้อเล็กน้อย สีไม่เข้มมากนัก ส่วนมากมักจะเป็นสีแดงแกมเขียว เป็นพันธุ์ที่มีความตื่นตกใจได้ง่ายที่สุด การกัดจะมีความว่องไวมากกว่าพันธุ์ลูกหม้อ ปากคม แต่ไม่ค่อยมีความอดทน ใช้เวลาประมาณ 30 นาทีจะรู้ผลแพ้ชนะ นิยมใช้ในวงการกัดพนันเช่นกัน
ภาพที่ 8 แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัดลูกทุ่ง
4.3 ปลากัดลูกผสม หรือพันธุ์สังกะสี หรือพันธุ์ลูกตะกั่ว เป็นลูกปลาที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างปลากัดลูกหม้อกับปลากัดลูกทุ่ง โดยอาจผสมระหว่างพ่อเป็นปลาลูกหม้อกับแม่เป็นปลาลูกทุ่ง หรือพ่อเป็นปลาลูกทุ่งกับแม่เป็นปลาลูกหม้อ ได้ทั้งสองแบบ ผู้เพาะต้องการให้ปลาลูกผสมที่ได้มีลักษณะปากคม กัดคล่องแคล่วว่องไวแบบปลาลูกทุ่ง และมีความอดทนแบบปลาลูกหม้อ
4.4 ปลากัดจีน เป็นปลากัดที่เกิดจากการเพาะและคัดพันธุ์ปลากัดโดยเน้นเพื่อความสวยงาม พยายามคัดพันธุ์เพื่อให้ปลามีหางยาวและสีสันสดเข้ม จนในปัจจุบันสามารถผลิตปลากัดจีนที่มีความสวยงามอย่างมาก มีครีบต่างๆค่อนข้างยาว โดยเฉพาะครีบหางจะยาวมากเป็นพิเศษและมีรูปทรงหลายแบบ มีสีสันสดสวยมากมายหลายสี เป็นปลาที่ไม่ค่อยตื่นตกใจเช่นเดียวกับปลาหม้อ แต่ไม่มีความอดทน เมื่อปล่อยกัดกันมักรู้ผลแพ้ชนะภายใน 10 นาที ไม่นิยมใช้ในการกัดพนัน
ภาพที่ 9 แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัดจีน
ปัจจุบันผู้เพาะพันธุ์ปลากัดสามารถเพาะพันธุ์ปลากัดสายพันธุ์ใหม่ๆออกมาอีกหลายสายพันธุ์ และมีความหลากหลายทางด้านสีสันอีกด้วย ทำให้มีการเรียกชื่อสายพันธุ์ปลากัดเพิ่มขึ้นอีกมากมาย ได้แก่ ปลากัดสองหาง (Double Tail) ปลากัดหางหนามมงกุฎ (Crown Tail) ปลากัดหางพระจันทร์ เป็นต้น
ภาพที่ 10 แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัดครีบสั้นสีเดียว
ภาพที่ 11 แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัดครีบสั้นสีแฟนซี
ภาพที่ 12 แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัดครีบยาวสีเดียว
ภาพที่ 13 แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัดครีบยาวสีแฟนซี
ที่มา : สถาบันวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ 2544
ภาพที่ 14 แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัดสองหางครีบสั้น
ภาพที่ 15 แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัดสองหางครีบยาว
ภาพที่ 16 แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัดหางหนามมงกุฎ
ภาพที่ 17 แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัดหางพระจันทร์
5 การจำแนกเพศปลากัด
ปลากัดเพศผู้และเพศเมียมีลักษณะภายนอกที่แสดงความแตกต่างกัน ซึ่งพอจะสังเกต
ได้หลายประการ คือ
5.1 สีของลำตัว ปลาเพศผู้จะมีสีของลำตัวและครีบ เข้มและสดกว่าปลาเพศเมียอย่างชัดเจน เมื่อปลามีอายุตั้งแต่ 2 เดือน หรือมีขนาดตั้งแต่ 3 เซนติเมตรขึ้นไป
5.2 ขนาดของตัว ปลาที่เลี้ยงในครอกเดียวกันปลาเพศผู้จะเจริญเติบโตเร็วกว่าปลาเพศเมีย
5.3 ความยาวครีบ ปลาเพศผู้จะมีครีบหลัง ครีบหาง และครีบก้นยาวกว่าของปลาเพศเมียมาก ยกเว้นปลากัดหม้อจะยาวต่างกันไม่มากนัก
5.4 เม็ดไข่นำ ปลาเพศเมียจะมีเม็ดหรือจุดขาวๆอยู่ 1 จุด ใกล้ๆกับช่องเปิดของช่องเพศ ลักษณะคล้ายกับไข่ของปลากัดเอง เรียกจุดนี้ว่าไข่นำ ส่วนปลาเพศผู้ไม่มี
ภาพที่ 18 แสดงความแตกต่างระหว่างเพศผู้(ซ้าย)และเพศเมีย(ขวา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น